รายละเอียด |
: |
จำนวนการสร้าง 2 เหรียญ\\n\\n รุ่นนี้ ผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษก โดยเกจิอาจารย์ชื่อดัง อาทิ เช่น ลพ. ประสิทธ์ วัดป่าหมู่ใหม่ ,ลพ.เปลี่ยน วัดอรัญญาวิเวก บ้านปง,ลพ.เพี้ยน วัดเกรินกฐิน, ลป.ทิม วัดผ้าขาว โดยมี ลป.จันทร์ วัดเจดีหลวงเป็นประทานในพิธี\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nประวัติพระอาจารย์ทองบัว ตันติกโร(พระราชพุทธิมงคล) พระอาจารย์ทองบัว เกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 แรม 15 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา (ตรงกับวันมาฆบูชา) เวลา 6.00 น. ที่บ้านหนองผักแว่น ตำบลห้วยโปร่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัด ลพบุรี ในสกุล “บุตรศรี” แต่ครั้งเมื่อไปแจ้งที่อำเภอทางอำเภอเขียนผิดเป็น “พุทธศรี” ซึ่งมีความหมายว่า เป็นศรีหรือมิ่งขวัญแก่บวรพุทธศาสนา ตั้งแต่บัดนั้นมา\\\\\\\\\\\\\\\\nโยมบิดาชื่อนาย โมทย์ โยมมารดาชื่อ นางสีดา มีพี่น้องร่วมท้องกัน 12 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 6 คน ส่วนท่านเป็นบุตรคนที่ 9 เมื่ออายุได้ 6-7 ขวบ โยมมารดาถึงแก่กรรม จึงได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ยังจังหวัด ขอนแก่น และเมื่ออายุได้ 9 ขวบ จึงได้ไปเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนบ้านยางคำวิทยาทาน วัดสวรรค์คงคา บ้านยางคำ จนจบชั้นประถม เมื่อจบเรียนแล้ว ได้บวชเป็นผ้าขาวรักษาศีลอุโบสถ บริโภคอาหารวันละมื้อเดียว นุ่งขาวห่มขาว และบำเพ็ญสมาธิ ติดตามกับพระภิกษุพี่ชายจนออกพรรษา เมื่อปี 2482 เมื่ออายุของท่านได้ 18 ได้บวชเป็นสามเณร โดยมีท่านเจ้าคุณพระพิศาลคณานุกิจ ศิษย์พระอาจารย์มั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้บำเพ็ญสมณธรรมกัมมัฐฐาน หัดวิปัสสนาเป็นเวลา 3 ปี กับพระอาจารย์ท่านเจ้าคุณพิศาลคณานุกิจ เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล)\\\\\\\\\\\\\\\\nต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ท่านอาจารย์ทองบัวมีอายุได้ 21 ปีเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ผู้เป็นอาจารย์นำตัวไปฝากอุปสมบท ณ วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (พระอาจารย์มั่นเคยจำพรรษาอยู่) โดยมีพระพิศาล คณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์มีท่านอาจารย์ตาลเป็นพระกรรมวาจารย์ เมื่ออุปสมบทเป็นที่เรียบร้อยแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองแวง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้เรียนปริยัติธรรมและกรรมฐานควบคู่กันไป จนจบชั้นนักธรรมเอก\\\\\\\\\\\\\\\\nภายหลังพระอาจารย์มั่นกลับออกจากเชียงใหม่ในปี 2482 และเดินทางกลับสู่ภาคอีสาน สู่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุดรธานีแล้ว ในปีพ.ศ. 2485-2486 ได้พักจำพรรษาที่วัดสำนักป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นที่สงบวิเวกดีมาก โอกาสนี้เองที่พระ อาจารย์ทองบัว ตันติกโร ได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ณ.สำนักป่าบ้านนามนนั่นเอง ได้ศึกษาฟังธรรมเทศน์ธรรมและฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้ยังได้ฝึกบำเพ็ญกรรมฐานร่วมกับพระอาจารย์จันทร์ เขมปนัตโต(อดีตจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง) , พระอาจารย์ชอบ ฐานะสโม , และพระอาจารย์ตื้อ วจลธัมโม\\\\\\\\\\\\\\\\nนอกจากได้เรียน ปฏิบัติกรรมฐานจากพระอาจารย์มั่นแล้ว ยังมีโอกาสธุดงค์ติดตามท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ไปจังหวัดนครพนม และได้ธุดงค์ไปดอยเก้า กุฉินนารายณ์สถานที่อันศักสิทธิ์กับท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ แม้แต่พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ศิษย์องค์แรกของพระอาจารย์มั่น ก็มีความเอ็นดูพระอาจารย์ทองบัวมาก ครั้งหนึ่งพระอาจารย์สิงห์เคยหยอกล้อ โดยใช้มือขวาของท่านลูบคางพระอาจารย์ทองบัว เมื่อในปี 2485 พระอาจารย์ทองบัวยังได้มีโอกาสศึกษากรรมฐานกับพระอาจารย์กงมา และภายหลังในปี 2493 ยังมีโอกาสศึกษากรรมฐานกับพระอาจารย์ตื้อ อจลธัมโม หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และพระอาจารย์สิม พุทธจาโร ผลแห่งการบำเพ็ญภาวนารักษาศีล ปฏิบัติวิปัสสนา กัมมาฐานเป็นเวลานานถึง 34 ปี(ในตอนนั้น) จึงได้มีสมาธิที่แก่กล้า อีกทั้งความมานะบากบั่นในการบำเพ็ญภาวนา ดังนั้นจึงต้องถูกนิมนต์ไปนั่งปรกบริกรรมภาวนาในพิธีพุทธาภิเษกเสมอมามิได้ขาด\\\\\\\\\\\\\\\\nกิตติศัพท์ชื่อเสียงของพระอาจารย์ทองบัว ในการอฐิธานจิตในวัตถุมงคลใดแล้วเล่าจะบังเกิดสิ่งมหัศจรรย์แก่ผู้ที่ศรัทธา พุทธคุณในด้าน แคล้วคลาดและเมตามหานิยมสูง\\\\\\\\\\\\\\\\nบ่อยครั้งที่มีการสร้างพระเครื่องวัตถุมงคลของสายวัดป่า อาธิพระเครื่องหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่ พระเครื่องหลวงปู่สิม พระเครื่องหลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ และอื่นอีกมากมาย ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะไม่ร่วมอธิฐานจิตหรือจารแผ่นยันต์ หรือเสกมวลสารเลย\\\\\\\\\\\\\\\\nหลวงปู่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโรงธรรมสามัคคีตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา ตลอดใต้ร่มกาสาวพัตร หลวงปู่ท่านได้ถือเพศบรรพชิต นับตั้งแต่นาทีแรกของการบรรพชาอุปสมบท จนถึงปัจจุบัน ปฎิบัติข้อวัตรตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ครูอาจารย์ได้ประพฤติเป็นแนวทางไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำวัตร สวดมนต์ บำเพ็ญภาวนาปฎิบัติศาสนกิจส่วนตนและส่วนรวม ท่านทำไม่เคยจน ตราบจนถึงวันที่ท่านได้ละสังขาร ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 จวบได้ 90 ปี 68 พรรษา (ตรงกับวันวิสาขบูชา) ซึ่งหาเปรียบพระเกจิอาจารย์องค์ใดรูปใดได้ เกิด วันมาฆบูชา ละสังขาร วันวิสาขบูชา |