เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พิมพ์หูเดียว รุ่นแรก นิยม 2484

เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พิมพ์หูเดียว รุ่นแรก นิยม 2484

เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พิมพ์หูเดียว รุ่นแรก นิยม 2484

เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พิมพ์หูเดียว รุ่นแรก นิยม 2484

รหัส : 67908 
ชื่อพระ : เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พิมพ์หูเดียว รุ่นแรก นิยม 2484
สถาณะ :
ราคา : 9
รายละเอียด : เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง พิมพ์หูเดียว รุ่นแรก นิยม\\n\\nหลวงพ่อแช่ม อินทโชโต ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่เคารพนับถือของมหาชนมาตั้งแต่ครั้งสงครามอินโดจีน หลวงพ่อแช่ม เป็นพระผู้วทรงอภิญญาอันแก่กล้า มีญาณทัศนะหยั่งรู้วาระจิต อีกทั้งเรืองวิทยาคม มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นที่กล่าวขวัญของบรรดาผู้ที่มีโอกาสพบปะหรือใกล้ชิดกับท่าน จนบางเรื่องเมื่อฟังแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเรื่องจริง อย่างเช่นทอดแหหาปลาบนบก ใช้ลอกดักเงินกลางอากาศ ฯลฯ บางเรื่องก็พอจะฟังได้บ้าง อาทิ ย่นหนทาง และ หยุดรถไฟที่กำลังวิ่งอยู่ เสกผ้าเช็ดหน้าให้เป็นกระต่าย หรือ เสกผ้าอาบให้กลายเป็นงู ฯลฯ สามารถคลุกคลีกับสัตว์ร้ายต่าง ๆ เช่น เสือ หมูป่า และ สัตว์เลื้อยคลานที่มีพิษเช่น งูจงอาง และ งูเห่า ได้โดยที่มันไม่ทำอันตราย\\nวัตรปฏิบัติของท่านพ่อแช่มค่อนข้างประหลาด เช่นเดียวกับ หลวงพ่อโอภาสี พฤติกรรมที่ต่างไปจากพระภิกษุอื่น วัตรปฏิบัติหลวงพ่อแช่มท่านปฏิบัติแบบพระป่า จึงทำให้แตกต่างจากภิกษุอื่นเป็นเหตุให้หลวงพ่อแช่มต้องอธิกรณ์ แต่ก็ไม่สามารถเอาผิดกับท่านได้ เพราะการปฏิบัติของท่านอยู่ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า โดยถือการปฏบัติด้วยการเตือนตนเอง\\n\\nหลวงพ่อแช่มมีฐานะเป็นเพียงลูกวัดธรรมดา และตัวท่านก็รักความสันโดษ ไม่ยินดีในลาภยศสมณศักดิ์ใด ๆ ชอบความเป็นอยู่ง่าย ๆ สมถะ ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ และ ไม่พิถีพิถัน นุ่งห่มแต่จีวรเก่า ๆ กุฏิ หรือ ที่พัก เป็นเพียงกระต๊อบหลังคามุงจาก ไม่ปูพื้น ท่านนอนเพียงไม้กระดานแผ่นเดียว ที่ปูอยู่กับพื้นดิน มีไม้ขอนวางรอง ไม่มีเตียง ไม่มีตั่ง ไม่มีเก้าอี้ ไม่มีม้านั่ง ไม่มีหมอนอิง แม้กระทั่งเสื่อก็ไม่มีปูรอง กุฏิหลวงพ่อ ปราศจากฝากั้น ปลูกอยู่ข้างกำแพงพระอุโบสถหลังเก่า\\n\\nอาหารที่หลวงพ่อแช่มฉัน ท่านฉันตามมีตามเกิดเพียงมื้อเดียว หลวงพ่อแช่มปีหนึ่งจะสรงน้ำเพียงครั้ง หรือ สองครั้ง เท่านั้น ซึ่งท่านจะทำเมื่อมีสานุศิษย์ร้องขอ เพื่อเป็การแสดงมุทิตาจิต และเป็นเรื่องที่แปลกหลวงพ่อแช่มไม่มีกลิ่นตัวให้ผู้ใกล้ชิดได้สัมผัสรับรู้\\n\\nหลวงพ่อแช่มท่านเรียนวิชามาจาก หลวงพ่อทา ท่านเดินธุดงค์ไปทั่วสารทิศ ท่านมีอาจารย์มากมาย ลูกศิษย์ลูกหาที่ร่ำเรียนวิชาจากหลวงพ่อแช่ม ได้แก่ หลวงพ่อเต๋ คงทอง หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อสี วัดปากคลองบางครก ฯลฯ เป็นต้น ....\\nข้อมูลความรู้เพิ่มเติม\\n“ด้วยความเคารพผู้อ่านทุกๆท่านรวมถึงศิษย์หลวงพ่อเเช่มวัดตาก้องทุกๆท่านเรือ่งราวต่อจากนี้้อ้างอิงจากบทความของ\\nอาจารย์หม่อง บางระมาด ได้อธิบาย เรื่องยันต์หลังเหรียญรุ่นที่ ๑ เพิ่มเติม ในส่วนของยันต์ ด้านหน้า คำว่า \\\"นะ\\\" บนฝ่ามือ และ \\\"อะ\\\" บริเวณหน้าอกของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หมายถึง \\n\\\"นะ\\\" บนฝ่ามือ เป็นยันต์ตัวแรกของพระคาถามหาอุด คือ นะอุดตะรัง อุดตะรังมิจจะ นะอย่า อย่านะ วิหารังปิด อุทธัง อัทโธ \\n\\\"อะ\\\" บริเวณหน้าอก เป็นยันต์ตัวแรกของพระคาถาปืนแตก คือ อะนิทัสสะนะอะปฏิ (ลั่นไกมิได้) อะนิทัสสะนะอะ ปฏิฆา (ลูกมิออกจากลำกล้อง) อะนิทัสสะนะอะปฏิฆายะ (ลำกล้องแตก) \\nในตามเจตนาของหลวงพ่อแช่ม ที่ท่านนั่งทับปืนไว้ ๒ กระบอก เหรียญนี้ สร้างเมื่อปี ๒๔๘๔ ซึ่งตรงกับ ช่วง สงครามโลก ท่านผู้อ่าน และผู้อาวุโส คงหาเหตุ และ ผลได้ว่า ท่านลงไปเพื่อเจตนาอะไร \\nสำหรับพระคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์ เหตุไฉนจึง มีสระอะผสมกับอักขระ คือ ท่านเขียน แบบขอมไทย นั่นเอง ส่วน ด้านหลัง บริเวณตรงปาก ใต้ยันต์นวหรคุณ คือคำว่า ท้ออะงะ มิใช่ ทะอะงะ ซึ่งเป็นพระคาถาดีทาง จังงัง นั่นเอง \\nยันต์หลัง พระปิตตาโภคทรัพย์ ด้านหลังคือคำว่า \\\"อุ แว\\\" โดยตัว พระคาถา ๒ ตัวนี้ เป็นพระคาถา ทางเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา นั่นเอง \\n\\\"อุ\\\" เป็นตัวแรกของพระคาถาที่ว่า อุเมตตาจะมหาราชา สัพพะเสน่หาจะปูชิโต \\nส่วนคำว่า \\\"แว\\\" นั้นมาจากคำว่า \\\"เว\\\" ทั้งนี้อาจารย์หม่อง บอกว่า ครั้งหนึ่งได้คุยกับ อาจารย์สนิท สุดใจแจ่ม เกิด พ.ศ. ๒๔๔๒ ปัจจุบัน ยังมีชีวิตอยู่ อายุ๑๐๖ ปี ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อแช่ม ได้เรียนวิชา กับหลวงพ่อแช่ม และเคยถามหลวงพ่อแช่มตรงๆ ว่า ทำไม หลวงพ่อชอบลงคำว่า \\\"แว\\\" ทำไมไม่เขียนคำว่า \\\"เว\\\" \\nหลวงพ่อแช่มตอบว่า \\\"เว\\\" กับ \\\"แว\\\" เป็นตัวเดียวกัน เป็น การเรียน วิชามูลขจาย ซึ่งมาจากพระคาถา พระเจ้าสิบชาติ ที่ว่า \\\"เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว\\\" \\nคำย่อและตัวพระคาถาในคัมภีร์มูลขจาย คำว่า เว คือ แบ่งออกเป็น ๒ บท คือ คาถาอัญเชิญ \\\"เว สันตะโร โพธิสัตโต นามะจะภะกะสะภะคะวา จิตตัง วัตถุกัง อารัมมะณัง ตะวังปิสัมพุทธโธ เม ภะ วิ สัน กุสลาธัมมา สัมมาสัมพุทโธ แว อิติปิโส ภะคะวา\\\" \\nและตัวเรียกสูตร \\\"เวชาติปะริยันตัง พุทธังสะระคัจฉามิ ธังมังสะระคัจฉามิ สังฆังสะระคัจฉามิ\\\" \\nส่วนยันต์หลัง เหรียญพิมพ์ประธาน ด้านหลัง เป็นคำไทย แต่เขียนตัวตัวขอม อ่านว่า \\\"มา\\\" ท่านผู้อ่าน หรือผู้รู้ ทางคัมภีร์มูลขจาย รัตนมาลา ก็จะได้เอง หลวงพ่อแช่ม ท่านสำเร็จ วิชา มูลขจาย คัมภีร์ รัตนมาลา หรือ ห้องพุทธคุณ ๕๖ พระองค์ นั่นเอง \\n\\\"มา\\\" เป็นคำย่อของพระคาถาที่ว่า \\\"มาตาวะปาลิโตสัตเต มานะถัทเธปะมัททิโนมา มานิโตเทวะ สังเฆหิ มานะฆาฏังนะมามิหัง\\\" \\nคาถาทั้งหมดนี้อาจเขียนแทนด้วย พระพุทธองค์ ๑ องค์ โดยการเติม อุณาโลม ไว้ด้านบน ซึ่งหมายถึงเศียรพระพุทธนั่นเอง คาถาบทนี้ใช้ดีทางเมตตามหานิยม \\nสำหรับยันต์หลังเหรียญหลวงพ่อแช่มรุ่นอื่นๆ ที่ยังไม่อธิบายถึง ฉบับนี้ขอนำมาเสนอต่อ คือ \\nพระสมเด็จปรกโพธิ์สะดุ้งกลับ (กลับจาก เรื่องร้าย กลายเป็นดี ส่วนที่ดีก็จะดีทวีขึ้น) ปี ๒๕๓๓ มียันต์ เพียงตัวเดียว คือ นะ ซึ่งเป็นยันต์ ของพระคาถาที่ว่า นะเมตา กาโรโหติ สัมภาโว ตินกัตวานะ กาลัง ปัจจะ สัมภาวัง จงมาบังเกิด เป็นนะเมตตา \\nพระผงรูปเหมือน หลวงพ่อแช่ม ปี ๒๕๓๕ มียันต์ ๒ ชุด คือ ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ ที่ว่า นะ โม พุท ธา ยะ ส่วนแถวล่าง เหนือคำว่า วัดตาก้อง คือ ยันต์หัวใจพระฉิม ที่ว่า นะ ชา ลิ ติ \\nเหรียญฉลุ หล่อโบราณ เนื้อทองผสม ปี ๒๕๓๕ ยันต์ที่อยู่ใน รูปสามเหลี่ยม คือ มะ อะ อุ ส่วนด้านใต้ คือ ตัว ยะ (พระศรีอริยเมตรัย) ซึ่งเป็นยันต์ตัวสุดท้ายของพระเจ้า ๕ พระองค์ \\nเหรียญอุดมโภคทรัพย์ เนื้อกะไหล่ทอง เสาร์ ๕ ปี ๒๕๓๖ การเขียนยันต์รุ่นนี้ เป็นการเขียนผสมระหว่างตัวเลขกับอุณาโลมรวมกัน \\nเฉพาะเลข ๕ ตีความหมายได้ถึง ๔ ยันต์ คือ ปัจจะ พุทธามณี ปัจจะนะมามิหัง ปัจจพรหมาสหบดี และ ปัญจ พุทธา นะมะมิหัง ซึ่งทั้งหมด มีความหมาย อำนาจ ของ พุทธคุณ \\nเลข ๗ หัวใจโภชงค์ ๗ คือ สะ ธะ วิ ปิ ปะ สะ อุ ส่วนตัว ยันต์ที่อยู่ด้านใต้นั้น คือ มา นะ ชา ลี ติ หรือเรียกว่า หัวใจ พระฉิม ซึ่งเป็นยันต์ด้านมาหาลาภ \\nเหรียญคอน้ำเต้า หลวงพ่อแช่ม เนื้อทองผสม เสาร์ ๕ ปี ๒๕๓๖ เป็น ยันต์ หัวใจ พระรัตนตรัย อิ สวา สุ ทั้งนี้จะมีการเขียนอุณาโลมครอบไว้ด้านบนยันต์ตัวกลาง คือ \\\"นะมหาอุด\\\" \\nการเขียนยันต์ตัวนี้จะเป็นยันต์ปิด ซึ่งมีพุทธคุณทางมหาอุด ส่วนยันต์แถวล่าง คือ \\\"ยะ กะ ภะ ติ\\\" ยันต์ตัวนี้ไม่ค่อยพบเห็นมากนัก ซึ่งน่าจะมีความหมายทางด้านมหาอุด \\nเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม เสาร์ ๕ ปี ๒๕๓๖ ยันต์ในรูปสามเหลี่ยม คือ มะ อะ อุ \\nเหรียญเสมา หน้าเสือหลวง พ่อแช่ม เนื้อตะกั่ว ถ้ำชา เสาร์ ๕ ปี ๒๕๓๖ ตัวยันต์ที่อยู่ใต้อุณาโลม คือ \\\"มา นะ\\\" ซึ่งแปล ตรงๆ ก็ คือความเพียรนั่นเอง ส่วนภาษายันต์เรียกว่า หัวใจความเพียร. ทั้งหมดที่อ้างอิงมาเพื่อการศึกษาเท่านั้นครับหวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับส่วนตัวผมที่หนึ่งในจัยเสมอครับ\\\"เหรียญกงจักรหลวงพ่อเเช่มพิมพ์หูเดียว/พิมพ์สองหู/เหรียญ ชล/รวมถึงวัตถุมงคลของหลวงพ่อเเช่ม พรหมสโร วัดตาก้องล้วนเเล้วมีประสบการสูงมากๆครับ ดั่งสมฉายา “ขุนศึกเมืองพระยากง” 
ชื่อร้าน : ตุ๊ก รังสิต
เบอร์โทรศัพท์ : 080-802-7730
จำนวนคนเข้าชม   4,607 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น