รายละเอียด |
: |
@@@...จับกระแสพระหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พระยุคหลังพุทธคุณแรง พุทธศิลป์งดงามไม่แพ้รุ่นเก่าที่ควรจับตา..@@@ \\nสำหรับในชั่วโมงนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าดีบ้านเมืองและเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร พระเครื่องก็ยังสวนกระแสได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นที่นิยมเก็บสะสมบูชา เอาเป็นว่าได้ทั้งพุทธคุณและมูลค่าเพิ่มไปในตัว ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น และจากอดีตที่ผ่านมาจนถึงชั่วโมงนี้ พระหลวงปู่ทิม. วัดละหารไร่. เป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ ด้วยบารมีที่ท่านสะสมปฏิบัติมาอันเป็นจิรวัตรที่งดงามและพุทธคุณ ประสบการณ์ด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ครบสูตร ที่ผู้ใช้ได้ประสบพบเจอด้วยตนเอง และเล่าขานต่อๆกันมา. จนราคาพระที่หลวงปู่เสกในรุ่นแรกๆทั้งรูปหล่อ เหรียญ และเนื้อผงมีราคาหลักล้าน หลักแสน หรือแพงมากๆ ยิ่งใครมีไว้บูชาถือว่าชีวิตนี้มีสิ่งสุดยอดอยู่ที่ตัวท่าน สำหรับผมเองนับถือหลวงปู่ท่านมากเพราะผมเองก็แขวนบูชาหลวงปู่ติดตัวตลอดเวลาและมีประสบการณ์กับตัวเช่นกัน. เช้านี้ตื่นนอนตี5 มาเปิดดูรูปพระหลวงปู่ทิมของผมที่ผ่านมาเลยแว็ปเข้ามาในความคิดหรือทัศนคติส่วนตัวว่า พระหลวงปู่ที่สร้างยุคหลังมีพุทธศิลป์ที่งดงาม หล่อได้ปราณีตงดงามเหมือนหลวงปู่ทิมมากๆ และมีประสบการณ์ตั้งแต่ยังไม่ได้ปลุกเสก พิธีการสร้างสุดยอดและออกจากวัดละหารไร่. ราคายังจับต้องได้ สร้างน้อย และนับวันยิ่งหายากขึ้นเรื่อยๆ จึงขอนำเสนอในมุมมองส่วนตัว. คือ. รูปหล่อลอยองค์หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่. รุ่นอนุสรณ์108ปี. ออกปี. 2530. รุ่นนี้แหละครับที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง และอีกไม่นานจะหายากมากๆ. ลองศึกษาประวัติการสร้างดูครับ\\n............รูปหล่อหลวงปู่ทิมรุ่นอนุสรณ์ 108ปี รุ่นนี้สร้างโดย อาจารย์ ชินพร สุขสถิตย์ สร้างขึ้นเพื่อหาเงินถวายวัด เพื่อซื้อที่ดินขยายวัดออกไปเมื่อวันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2530 มีทั้งขนาดบูชา และขนาดห้อยคอ โดยสร้างรูปหล่อบูชาหลวงปู่ทิม ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว เนื้อโลหะ สร้างจำนวน 600 องค์ มีป้ายจารึกชื่อหลวงปู่ทิมติดไว้ที่ฐานด้านหน้าทุกๆ องค์ และรูปหล่อเหมือนหลวงปู่ทิมขนาดห้อยคอฐานกว้างประมาณ1 ซม สร้างรวมทั้งสิ้น 2,427 องค์ มีการสร้างทั้งหมด 4 เนื้อโลหะ ประกอบด้วย ทองคำ 9 องค์, เงิน 109 องค์, เนื้อนวโลหะ 309 องค์ และเนื้อสัมฤทธิ์ 2000 องค์ โดยทุกองค์อุดผงพรายกุมาร ผงพุทธคุณที่หลวงปู่ทิมสร้างไว้ พลอยเสก ผงตะไบพระกริ่งชินบัญชร เกศาและเศษจีวรหลวงปู่ทิม และหลังจากที่ได้เข้าพิธีปลุกเสกเรียบร้อยแล้วก็มีความศักสิทธิ์และมีพลังพุทธานุภาพ ไม่แพ้รุ่นที่ทันหลวงปู่ทิมท่านเสกเลย ผู้ที่นำไปบูชาต่างมีประสบการณ์กันมากมายทั้งเมตตาและแคล้วคลาด ลองไปหาอ่านกันดูเอาเองครับ ขนาดก่อนเข้าพิธีหล่อที่บ้านช่างถนอม นครอินทรี ช่างหล่อพระกริ่งฝีมือเยี่ยม และเป็นผู้หล่อพระกริ่งปวเรศของวัดบวรนิเวศ ได้เล่าให้ใครต่อใครในแวดวงนักหล่อพระด้วยกีนฟังว่า “ผมเคยหล่อหลวงพ่อดังๆมามากแล้ว ไม่เคยเฮี้ยนเท่ารูปหล่อพบหลวง พ่อองค์ไหนเฮี้ยนเท่าหลวงปูทิมรุ่น 108 ปีนี้เลย” ช่างถนอมเล่าให้พรรคพวกซึ่งมีทั้งระดับอาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการระดับสูงฟังในวาระที่ไปนั่งรอพิธีพุธทาภิเษกที่วัดบวรนิเวศ เมื่อคืนวันที่ 1 กรกฎาคม 2530 ว่า “คืนแรกที่หล่อรูปหล่อหลวงปู่ทิม 609 องค์เสร็จ (หล่อเมื่อ 7 มิถุนายน 2530) ก็มีเรื่องแปลกประหลาดเกิดขึ้น ลูกน้องช่างถนอมที่นอนพักที่โรงงานได้ฝันเห็นพระแก่ๆ เดินตรวจเบ้าหล่อพระซึ่งกองเรียงรายไว้ จนหลายคนไม่กล้านอน ยิ่งกว่านั้นรูปหล่อที่กระเทาะออกจากเบ้าเอามาแต่งแล้ว ถ้าช่างหล่อคนใดวางไว้ในที่ต่ำๆแล้ว มีคนเดินเฉียดไปเฉียดมา พอตกตอนกลางคืนก็จะมีพระแก่ๆมาดุเอา และบอกให้เก็บไว้ในที่สมควร พวกเขาซึ่งหล่อพระมามากต่อมากแล้วมักไม่ค่อยถือสาในเรื่องนี้มากนัก เพราะถือว่าเราเป็นช่างเป็นลูกพระวิษณุ แต่รายของหลวงปู่ทิม ซึ่งเป็นรายเดียวในชีวิตที่หล่อพระมาจนพวกเขาต้องยอมท่าน ไม่เช่นนั้นตกตอนกลางคืนจะต้องโดนดุ และที่แปลกอย่างยิ่งก็คือ พระที่หล่อถึง 609 องค์นี้สมบูรณ์ทุกองค์ ไม่มีเสียถึงขั้นต้องซ่อมหรือหล่อเพิ่มขึ้นเลย มันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้ และไม่เคยปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน ก่อนหล่อพระชุดนี้อาจารย์ชินพรได้พาฆารวาสชื่อ อาจารย์เข็ม มาทำพิธีขอสร้างบอกกล่าวหลวงปู่เท่านั้น! ช่างถนอม กล่าวให้ใครต่อใครฟังต่อไปว่า “มิน่า รูปหล่อรุ่นแรกของท่านถึงได้ศักสิทธิ์และซื้อหากันองค์ละเป็นหมื่นบาท” รูปหล่อหลวงรุ่นอนุสรณ์ 108 ปี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นปีที่หลวงปู่ทิม อิสริโก มรณภาพครบรอบ 12 ปี ทางมูลนิธิหลวงปู่ทิม อิสริโก ได้จัดสร้างพระบูชาขนาด 5 นิ้ว และรูปหล่อขนาดห้อยคอใต้ฐานบรรจุผงพรายกุมาร เส้นเกศาหลวงปู่ทิม พลอยหลวงปู่ทิมเสก และเศษชนวนพระกริ่งชินบัญชร 2517 ได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดระหารไร่ จ.ระยอง โดยมี พระเกจิผู้ทรงวิทยาคม จำนวน 9 รูป คือ 1. หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า 2. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดเม้าสุขา 3. หลวงพ่อใย วัดมะขาม 4. หลวงพ่อฝ้าย วัดมะทาย 5. หลวงพ่อชม วัดโป่ง 6. หลวงพ่อลัด วัดหนองกระบอก 7. หลวงพ่อชู สำนักสงฆ์หิน เหล็ก ไฟ 8. หลวงพ่อสิน วัดระหารใหญ่ 9. หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ(ขอขอบคุณทุกข้อมูลทุกท่านที่ได้รวบรวมไว้). |