พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท

พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท

พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท

พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท

พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท

รหัส : 66028 
ชื่อพระ : พระสรรค์นั่ง ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท
สถาณะ :
ราคา : 9
รายละเอียด : แชมป์ครับ บอกได้คำเดียว!!!\nพระสรรค์นั่ง ไหล่ยก กรุวัดท้ายย่าน ชัยนาท ถือว่าเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด\nสวยคมชัดทุกมุมมอง ของดีที่หายากสุดๆครับ\n@>>>พระสรรค์นั่งไหล่ยก กรุเก่า จ.ขัยนาท พิมพ์นิยม_๑ เป็นพระกรุที่สวยเดิมๆ ไม่มีอุด ไม่มีซ่อม ไม่มีล้าง ไม่มีแต่ง และเป็นพระที่ไม่ผ่านการใช้ ผิวขี้กรุเดิมๆยังติดอยู่ทั่วทั้งองค์พระ ยุคนี้ พ.ศ.นี้จะหาพบเห็นพระกรุเดิมๆ สวยๆแบบนี้ยากเต็มที เพราะโดนเก็บเข้ารังหมดแล้วครับ\n@>>>พระสรรค์นั่งไหล่ยก เป็นพิมพ์นิยมที่สุดในตะกูลพระสรรค์ จ.ขัยนาท เป็นพระตระกูลสกุลช่างอู่ทอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปรากฏมีการแตกกรุออกมาหลายกรุทั้งกรุวัดท้ายย่าน วัดบรมธาตุ วัดส่องคบ วัดมหาธาตุ กรุเขื่อนชลประทาน ฯลฯ ส่วนเนื้อขององค์พระที่พบจะมีทั้งพระเนื้อดินและเนื้อชิน ทั้งดินหยาบ ดินละเอียด ชินเงิน ชินตะกั่ว\n@>>>ในสมัยนั้น จ.ชัยนาทเป็นเมืองหน้าด่านในการรบทัพจับศึก คราวสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีภายหลังได้มีการเปิดกรุที่สรรค์บุรี พบพระลีลาเมืองสรรค์ พระสรรค์นั่งไหล่ยกและพระปิดตาวัดท้ายย่านอยู่ในกรุเดียวกันจึงเป็นข้อสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยเดียวกัน คนยุคเก่าเล่าขานว่าพระสรรค์และพระปิดตาท้ายย่านเด่นในทางคงกระพัน และแคล้วคลาด พร้อมด้วย เมตรามหานิยม คนเก่าแก่โบราณให้ความไว้วางใจเป็นอย่างมากชนิดที่เรียกว่าแขวนเดี่ยวองค์เดียวอยู่\"จนมีคำพูดติดปากว่ายุงยังไม่ได้กินเลือด\"_ก็ลองคิดกันเอาเองว่า คนรุ่นเก่า กับ พระรุ่นก่อน หนะเขาสุดยอดขนาดไหน...เป็นความรู้เล็กๆครับ\nเครดิตรายละเอียด : วัต ท่าพระจันทร์®\n/////////////////////////////////////////////\nรายละเอียด\nหากจะกล่าวถึงพระเครื่องเนื้อดินในพื้นที่ภาคกลาง ที่มีพุทธคุณด้านคงกระพัน เป็นที่ร่ำลือกันมา ตั้งแต่ครั้งโบราณ นอกจากหลวงพ่อโตกรุบางกระทิง พระกรุวัดตะไกร พระกริ่งคลองตะเคียน แห่งเมืองกรุงเก่า พระขุนแผนเมืองสุพรรณ พระอีกกรุที่มิอาจมองข้ามคือ พระกรุเมืองสรรค์ ซึ่งเป็นที่เชื่อถือในพุทธคุณมานานปีเฉกเช่นกันเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?อาจกล่าวได้ ว่าพระกรุที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นผู้สร้างมีเจตนาเพื่ออาราธนาปกป้องคุ้มครองจากภัยสงครามที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในครั้งกระโน้น แม้กระทั่งขุนสรรค์ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มวีรชนชาวบ้านบางระจัน เป็นหัวหน้าที่นำสมัครพรรคพวกชาวบ้านเมืองสรรค์ มาร่วมสู้รบพม่าที่ค่ายบางระจัน ก็เชื่อว่าน่าที่จะนำเอาพระพิมพ์กรุเมืองสรรค์ อาราธนาติดกายมาด้วย เนื่องจากมีเคยมีผู้พบพระพิมพ์ดังกล่าวในเขต พื้นที่รอยต่อทั้งที่สิงห์บุรีและชัยนาท \nพระกรุเมืองสรรค์จึงมักเป็นพระยอดนิยมอันดับต้น ๆ ที่นักสะสมทั้งหลายต่างแสวงหาเพื่อคุ้มครองตน\nเมืองสรรค์บุรี ในปัจจุบันคืออำเภอสรรค์บุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย ซึ่งแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนเหนือของวัดพระบรมธาตุ จังหวัดชัยนาท นับว่าเป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญและ มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในฐานะเป็นเมืองลูกหลวง และเมืองหน้าด่านที่สำคัญ มานานกว่า 700 ปี\n\"พระกรุเมืองสรรค์\" จัดว่าพระชั้นนำของชัยนาท อาจเป็นด้วยพุทธลักษณะขององค์พระที่แลดูสง่างาม อีกทั้งพุทธคุณปรากฏเป็นเลิศทั้งในด้านอยู่ยงคงกระพัน\nพระกรุเมืองสรรค์ พบมากที่กรุวัดมหาธาตุ วัดท้ายย่าน วัดขนุน และตามพระเจดีย์ พระปรางค์ต่างๆ ในบริเวณเมืองสรรคบุรีเก่า มีทั้งพิมพ์ยืน พิมพ์นั่ง ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และมีหลายเนื้อปะปนกันมากมาย ทั้งเนื้อชิน เนื้อดิน พุทธลักษณะของพระพิมพ์เมืองสรรค์ จะเห็นได้ชัดว่าเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้นคาบเกี่ยวกับอู่ทอง หากเปรียบเทียบจากพระบูชาสมัยอู่ทอง พุทธลักษณะที่เด่นชัดคือพระพักตร์ที่เคร่งขรึมรูปวงรี เป็นผลมะตูม พระวรกายเพรียวชะลูด พระพิมพ์นั่งทุกพิมพ์ก็คือพระอู่ทองย่อส่วนนั่นเอง\n\"พระกรุเมืองสรรค์ พิมพ์นั่ง เนื้อดิน\" เป็นพระเนื้อดินเผาที่มีส่วนผสมของว่าน จึงทำให้ดูหนึกนุ่ม แต่ไม่ใช่ \"ว่านดอกมะขาม\" จะเป็นลักษณะของ \"แร่กรวด\" เป็นเม็ดเล็กๆ ในเนื้อองค์พระเท่านั้น มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด สีสันขององค์พระก็มีลักษณะเหมือนพระเนื้อดินเผาทั่วๆ ไป คือ มีสีแดง เหลือง เขียว และสีมอย ทั้งอ่อนและแก่ตามความร้อนที่ได้รับมากน้อยเช่นเดียวกัน\nพระสรรค์นั่ง พิมพ์นิยมไหล่ยก พุทธลักษณะเป็นนั่งมารวิชัยพระพักตร์รูปกลมรี พระหนุเสี้ยม มีพระกรรณปรากฏให้เห็น พระอุระผาย หากแต่พระอุทร มีลักษณะที่เรียกสามัญว่าท้องป่อง ยกไหล่ซ้ายขึ้นสูงกว่าไหล่ขวา ไม่ปรากฏสังฆาฏิ และอีกสิ่งที่มีลักษณะสะดุดตาก็คือที่พระเกศมาลามีเส้นตัดขวางคล้ายกากะบาด เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพิมพ์ ส่วนขอบข้าง และส่วนฐานมีหลายรูปแบบ ทั้งข้างเม็ด ข้างขีด ฐานขีด ฐานบัว เป็นต้น พระพิมพ์น้สามารถแยกพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กได้ด้วยขนาดขององค์พระ มีพบทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน เนื้อดินเผามีพบเห็นจำนวนมากกว่า มีทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ มีหลายเกรนสีตั้งแต่เหลืองอ่อนไปจนถึงสีเข้ม ที่เป็นสีดำก็มีบ้างแต่พบน้อยมาก พระพิมพ์นี้ขุดพบเป็นจำนวนมากที่วัดท้ายย่าน วัดพระนอน และวัดขนุน ที่ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรค์บุรี ซึ่งพระจากทั้งสามวัดนี้ แต่เดิมเรียกกันว่าเป็นพระกรุเก่า เนื่องจากแตกขึ้นจากกรุก่อนวัดอื่น ๆ นั่นเอง 
ชื่อร้าน : ตุ๊ก รังสิต
เบอร์โทรศัพท์ : 080-802-7730
จำนวนคนเข้าชม   8,450 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น