รหัส | : | 56383 |
ชื่อพระ | : | ตะกรุด หนังควายพอกครั่ง ครูบาชุ่ม โพธิโก พร้อมบัตรรับรองพระแท้ |
สถาณะ | : | |
ราคา | : | โชว์ |
รายละเอียด | : | หลวงปู่ชุ่ม หรือ ครูบาเจ้าชุ่ม โพธิโก เป็นพระผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ท่านปฏิบัติตามแนวทางกรรมฐาน 40 ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างอุกฤษฏ์ ชนิดยอมเอาชีวิตเข้าแลก จึงปรากฏว่าท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวล้านนา และบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเมื่อ 30 ปีก่อน นามของท่านยิ่งขจรขจายฟุ้งไปอีก กับเรื่องราวที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nหลวงปู่ชุ่มเป็นพระที่รอบรู้และเคร่งครัดในพระธรรมวินัย บำเพ็ญบารมี 10 ประการ อันประเสริฐตลอดชีวิตสมณเพศ และมีความวิริยะอุตสาหะปฏิบัติเพื่อมรรคผลสูงสุดในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nด้วยพลังแห่งฌานสมาบัติที่แก่กล้า และพลังแห่งเมตตาจิต รวมทั้งสรรพวิชาที่ท่านได้เพียรศึกษาและสั่งสมมาตามคติครูบาอาจารย์ ทำให้กิตติศัพท์ความเก่งกล้าทางด้านวิชาพุทธาคมของหลวงปู่ชุ่ม เป็นที่เชื่อมั่นในหมู่ประชาชนยิ่งนัก โดยเฉพาะด้านคงกระพัน มหาอุด แคล้วคลาด\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nหลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ผู้เป็นสหธรรมมิกอาวุโสสูงกว่า เคยนิมนต์หลวงปู่ชุ่มไปเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่อง เพื่อหาทุนสร้างโรงเรียนและศาลาวัดป่าดอนมูล กล่าวว่า\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\n“หลวงปู่ชุ่มท่านเป็นพระภิกษุที่มีความชำนาญด้านการผูกอักขระเลขยันต์ต่างๆ รวมทั้งมีอำนาจฌานสมบัติที่แกกล้าและขลังมาก”\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nหลวงปู่ชุ่มได้รับนิมนต์ให้ไปเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกหลายงาน ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่ง ได้แก่ พิธีพุทธาภิเษกอัฐิท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน หลวงปู่ชุ่มเป็นองค์ประธานในพิธี มีพระอริยะเจ้าทั่วภาคเหนือเข้าร่วมในพิธีนี้ ซึ่งนับเป็นประวัติการณ์อันมิได้ปรากฏขึ้นโดยง่าย\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาซึ่งเป็นพระอาจารย์ของครูบาเจ้าชุ่ม ท่านมรณภาพ ในปี พ.ศ.2481 วัดบ้านปางเก็บรักษาสังขารของท่านไว้ระยะหนึ่ง จากนั้นได้เคลื่อนย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่ วัดจามเทวี จ.ลำพูน อีก 8 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ หลังจากงานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้น จึงได้มีพิธีพุทธาภิเษก และจัดแบ่งอัฐิของนักบุญแห่งล้านนาไปบรรจุไว้ที่ต่างๆ\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nแล้วในวันที่ 27 ตุลาคม ปี พ.ศ.2517 หลวงปู่ชุ่มยังได้ไปเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกเหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ณ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน อีกด้วย นับว่าหลวงปู่ชุ่มท่านได้แสดงมุทิตาจิตต่อพระอาจารย์ของตนเป็นอย่างดียิ่ง\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ชุ่มยิ่งขจรไกล ความเลื่องลือเกี่ยวกับวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย บางครั้งเหล่าผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้น และนำมาให้ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสก ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องทั้งประเภทเนื้อโลหะ และประเภทเนื้อผง เมื่อผู้เลื่อมใสศรัทธานำไปพกพาติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ต่างประสบเหตุการณ์ มีอภินิหารต่างๆ นานา ทั้งด้านเมตตามหานิยม มหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน ส่งผลให้ชาวจังหวัดลำพูน และชาวจังหวัดใกล้เคียงในยุคนั้น ต่างแวะเวียนมากราบนมัสการท่าน เพื่อขอของดีกันไม่ขาดสาย ท่านจึงมักเมตตาทำวัตถุมงคลแต่ละชนิดให้แต่ละคนตามวาสนาที่แตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่ชุ่มไม่เคยตั้งราคาวัตถุมงคลที่ท่านแจกเลย ทั้งนี้ผู้มีจิตศรัทธาจะทำบุญกับท่านตามกำลังทรัพย์ที่พึงมี ปัจจัยทั้งหลายที่มีผู้ทำบุญถวายแด่ท่าน ล้วนถูกนำไปใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และการศาสนาทั้งสิ้นวัตถุมงคลของท่านในยุคเริ่มแรกจะเป็น ผ้ายันต์ ตะกรุด ล็อกเกตรูปถ่ายของท่าน และพระผงที่จัดสร้างเพื่อนำไปบรรจุตามพระเจดีย์ต่างๆ ที่ท่านไปนั่งหนักเป็นประธานสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ไว้นั่นเอง\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพราย\\\\\\\\\\\\\\\\n \\\\\\\\\\\\\\\\nเป็นตะกรุดพิเศษดอกเดียวที่มีชื่อเสียงทั่วภาคเหนือในสมัยเมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสำหรับผู้ต้องการแสวงหาวัตถุมงคลไว้ป้องกันตัว \\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nหลวงปู่ชุ่มได้รับการถ่ายทอดวิชานี้มาจาก ท่านมหาเมธังกร จังหวัดแพร่ ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาทำตะกรุดหนังให้จนหมดสิ้น โดยท่านใช้เวลาศึกษาอยู่สองพรรษา เมื่อผู้คนได้ทราบว่าหลวงปู่ชุ่มท่านได้รับการถ่ายทอดวิชา การทำตะกรุดยันต์หนังลูกควายตายพรายนี้มา ต่างก็พากันมาขอจากท่าน ต่อมาจึงได้มีประสบการณ์เลื่องลือ ยืนยันถึงพุทธคุณในด้านคงกระพัน มหาอุด และยังมีด้านเมตตามหานิยมอีกด้วย\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nหลวงปู่ชุ่มท่านได้เมตตาสร้างตะกรุดออกมาสงเคราะห์แก่ญาติโยม ลูกศิษย์ และผู้ศรัทธาทั่วไป ตั้งแต่ปี พ.ศ.2485 โดยในช่วงหลัง ราวๆ ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา พ่อหนานปัน จินา ลูกศิษย์ที่หลวงปู่ชุ่มได้ทำการครอบครูให้ เป็นศิษย์สืบทอดศาสตร์การสร้างตะกรุดหนังลูกควายตายพรายนี้แต่ผู้เดียว โดยจะเป็นผู้ทำการลงเลยยันต์ม้วนหนังความเป็นรูปตะกรุด หลังจากนั้นจึงปั้น (พอก) ครั่งอีกที\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nเคล็ดวิชานี้ ตามตำราระบุว่า ต้องใช้หนังลูกควายเผือกที่ตายอยู่ในท้องแม่ควายเผือกซึ่งตายทั้งกลม ที่สำคัญเขาลูกควายที่อยู่ในท้องต้องไม่ทะลุท้องแม่ควาย และวิธีพิสูจน์ว่าเป็นหนังควายเผือกแท้หรือไม่ ขณะทำการจารอักขระบนหนังควายนั้น หนังควายจะหมุน\\\\\\\\\\\\\\\\n\\\\\\\\\\\\\\\\nหนังลูกควายตามลักษณะดังกล่าว สามารถนำมาทำตะกรุดได้เพียงประมาณ 200-300 ดอก\\\\\\\\\\\\\\\\nพระคาถาบูชาวัตถุมงคลของ ครูบาชุ่ม พุทธโก (วัดไชยมงคล) วิวะ อะวะ สุสะตะ วิวะสวาหะ หรือ \\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\" พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุธังอัดโธอัด ฆะ ขาขาขาขา ฆะพะสะจะจะ กะพะวะกะหะ\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\" \\\\\\\\\\\\\\\\ |
ชื่อร้าน | : |
A PHP Error was encounteredSeverity: Notice Message: Undefined index: shop_username Filename: html/product_detail.php Line Number: 139 https://www.pramuangnue.com/" target="_blank">A PHP Error was encounteredSeverity: Notice Message: Undefined index: shop_name Filename: html/product_detail.php Line Number: 139 |
เบอร์โทรศัพท์ | : | A PHP Error was encounteredSeverity: Notice Message: Undefined index: shop_tel Filename: html/product_detail.php Line Number: 144 |
จำนวนคนเข้าชม | 2,364 คน |