รหัส |
: |
53178 |
ชื่อพระ |
: |
พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่เม่น บัวสองชั้น แปดจุด สวยมากๆ รางวัลที่ 1 งาน ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ที่ผ่านมาค |
สถาณะ |
: |
 |
ราคา |
: |
xxx,xxx |
รายละเอียด |
: |
พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ขี่เม่น บัวสองชั้น แปดจุด สวยมากๆ รางวัลที่ 1 งาน ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ที่ผ่านมาครับ
พระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงพ่อปาน โสนันโท เดิมชื่อ ปาน สุทธาวงษ์
บิดาชื่อนายอาจ มารดาชื่อ นางอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2418 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ที่บ้านตำบลบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
ที่ได้รับการขนานนามว่า ปานเนื่องจากตั้งแต่แรกเกิดท่านมีสัญลักษณ์ประจำตัวเป็นปานสีแดงที่นิ้ว ก้อยมือซ้ายตั้งแต่โคนถึงปลายนิ้ว
เมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจ้อย
วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา โสนันโท หลวงพ่อปาน ศึกษาร่ำเรียนวิทยาการ
กับหลวงพ่อสุ่น ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการรักษาโรคภัยไข่เจ็บตลอดจนผู้ที่ถูกคุณไสยจนแตก ฉาน
จากนั้นจึงออกธุดงค์ ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาวิชาความรู้กับพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายๆ รูป อาทิตย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.ปางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดใหม่อัมพวา) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรบุรี ศิษย์รุ่นพี่สำนักหลวงพ่อเนียมอาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ด้านพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี
พระอาจารย์เจิ่น สำนักวัดสระเกศ กรุงเทพฯ ด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระจนจบพระอภิธรรม 7 คัมภีรหลวงพ่อปานได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาจากชี ปะขาว
เมื่อราวปี พ.ศ.2446 ระหว่างที่ท่านฝึกวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมที่ศาลาไว้ศพที่วัดบางนมโค ด้วยวิธีพิจารณา อศุภกรรมฐาน คือการพิจารณาศพคนตายเพื่อ
ปลงสังขาร ชีปะขาวเดินเข้ามาหาและบอกกล่าวให้ท่านการสร้างพระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้านั่ง สมาธิ มีรูปสัตว์ 6 ชนิดอยู่ใต้ที่ประทับคือ ไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่น
และนก โดยนิมิตเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ดังกล่าว พร้อมทั้งมีคาถากำกับในแต่ละชนิดมาด้วย นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นรูปแบบการสร้างพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน
การสร้างพระของหลวง พ่อปานในปี พ.ศ.2446 นั้น หลวงพ่อปานดำริที่จะหาปัจจัยมาการดำเนินการปรับปรุงเสนาสนะภานในวัดบางนมโค และจะสร้างพระเจดีย์
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม แล้วท่านก็ได้พบชีปะขาวและท่านอาจารย์แสงดังกล่าวมาแล้วท่านตัดสินใจสร้าง พระเครื่องขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ.2450 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านอย่างเต็มที่ ผู้มีความรู้ทางช่างก็แกะแม่พิมพ์ถวาย บรรดาลูกศิษย์ก็ออกแสวงหาวัตถุมงคลต่างๆ มาให้
ทั้งว่านที่เป็นมงคลและมีสรรพคุณทางยา เกสรดอกไม้ที่เป็นมงคลนาม ดินขุยปูนา ตลอดจนพระพิมพ์โบราณที่ชำรุดแตกหัก เพื่อนำมาผสมเป็นเนื้อพระ
พระพิมพ์ชุดนี้ศิลปะแม่พิมพ์ไม่สวยงามนักเนื่องจากเป็นช่างฝีมือชาวบ้าน เรียกกันว่า พิมพ์โบราณ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2451 จำนวนการสร้างไม่มากนัก
ผู้มีไว้บูชาก็หวงแหน จึงหาดูได้ยากยิ่งนัก จะมีเล่นหากันอยู่ก็คือ พิมพ์ขี่เม่น (สมัยก่อนเรียก พิมพ์ขี่หมู เพราะตัวเม่นมองดูคล้ายหมูมากว่า) และ พิมพ์ขี่ไก่
ซึ่งจะมีขนาดเล็กและบางกว่าพิมพ์มาตรฐานมาก การอุดผงจะอุดขอบพระด้านล่าง และเนื้อขององค์พระค่อนข่างแกร่งต่อมาจึงจัดหาช่างฝีมือดีมาแกะแม่
พิมพ์ใหม่ศิลปะแม่พิมพ์จึงสวยงามขึ้นมาก เราเรียกกันว่า พิมพ์นิยม หรือ พิมพ์มาตรฐาน สร้างแจกในปี พ.ศ.2460 พร้อมมีสลากกำกับวิธีการใช้พระให้ด้วย
นับเป็นที่นิยมอย่างมากในแวดวงนักนิยม สะสมพระเครื่องในปัจจุบัน สนนราคาเป็นหลักแสนทีเดียวของทำเทียนเลียนแบบก็เยอะ หาดูของแท้ๆ ยาก เช่นกันนอกจาก
พระหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาแล้ว หลวงพ่อปานยังได้สร้างวัตถุมองคลอื่นๆ เพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า
อีกด้วย อาทิ ผ้ายันต์เกราะเพชร ลูกอม ตะกรุด และแหวนพระ |
ชื่อร้าน |
: |
ก้อง ท่ารั้ว เชียงใหม่ |
เบอร์โทรศัพท์ |
: |
0846100111,0892616111 |
จำนวนคนเข้าชม |
|
10,830 คน |
------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น