รหัส |
: |
45950 |
ชื่อพระ |
: |
พระตะไกร หน้ามงคล อยุธยา |
สถาณะ |
: |
|
ราคา |
: |
โทรถาม |
รายละเอียด |
: |
วัดตะไกร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งอยู่ที่คลองสระบัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แม้แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าก็ไม่พบชื่อวัด สันนิษฐานว่าคงจะเป็นวัดที่คหบดี หรือขุนนางสร้างขึ้นไว้ สิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือไว้ เช่น เจดีย์ และพระอุโบสถ ทำให้พิจารณาได้ว่า เป็น วัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ขึ้นมาจนถึงสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2006-2170)
กล่าวคือพระเจดีย์หลักและพระเจดีย์ราย เป็นแบบพระเจดีย์ฐานต่ำ บัวฐานแปดเหลี่ยมองค์ระฆังสูง แบบเจดีย์ลังกา ซึ่งจัดเป็นเจดีย์ที่สร้างในสมัยอยุธยาในช่วงกลาง พระพุทธรูปพระประธาน เป็นแบบพระพุทธรูปที่มีอิทธิพลสุโขทัยเจือปน ซึ่งเป็นลักษณะพระพุทธรูปแบบอยุธยาตอนกลาง วัดนี้คงมีการบูรณะกันเรื่อยมาตามลำดับ ที่ปรากฏชัดคงได้มีการบูรณะในราวสมัยแผ่นดินของพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากปรากฏพระปรางค์ร้างอยู่ องค์หนึ่งแบบสมัยพระเจ้าปราสาททอง ต่อมาครั้งมีศึกการเสีย กรุงครั้งสุดท้าย วัดตะไกรจึงร้างมาเป็นเวลานาน ครั้นแผ่นดินพระเจ้าตากสินมหาราช ก็มีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่ระยะหนึ่ง แล้ว ก็กลับมาร้างอีกครั้ง
การพบพระเครื่องฯ นั้น ประมาณปีพ.ศ.2470 มีผู้พบพระเนื้อดินเผาและพระเนื้อชิน ในพระเจดีย์ร้างบริเวณวัดตะไกร ซึ่งมีพิมพ์หลวงพ่อโต และพระขนาดเล็ก ซึ่งชาวบ้านตั้งชื่อตามวัดที่พบคือ 'พระวัดตะไกร' จากการพบครั้งนั้นปรากฏว่า มีทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ พิมพ์หน้ามงคล และพิมพ์หน้าฤๅษี พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย องค์ที่ติดชัดพระพักตร์จะปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ เส้นสังฆาฏิปรากฏชัดเจน โดยรวมคล้ายคลึงกัน ผิดกันเล็กน้อย และพระพักตร์แตกต่างกันจึงเกิดเป็นชื่อเรียกพิมพ์ของพระตามพระพักตร์เอกลักษณ์สำคัญ คือพระเนื้อดินเผาของวัดตะไกรจะมีเอกลักษณ์ที่ใต้ฐาน จะมีรูเสียบเอาพระออกจากพิมพ์ทุกองค์ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นการใช้ไม้เสียบเพื่อนำองค์พระออกจากแม่พิมพ์ แต่สำหรับพระเนื้อชินจะไม่มีรูที่ก้น สามารถแบ่งแยกพิมพ์ทรงได้ทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ ซึ่งจัดเป็นพิมพ์ที่นิยมที่สุด พิมพ์หน้าฤาษี และพิมพ์หน้ามงคล ซึ่งพิมพ์นี้มีทั้งพระเนื้อดินและเนื้อชิน แต่พระเนื้อดินเป็นที่นิยมมากกว่า อาจเป็นเพราะมีจำนวนมากกว่า และบางองค์ก็มีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี แต่ความนิยมก็อยู่ที่พระวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ เนื้อดินเผา จะนิยมมากกว่าพิมพ์อื่นๆ เนื่องจากเชื่อกันว่า นอกจากจะอยู่คงแล้ว ก็มีทางด้านป้องกันงูพิษด้วย สืบเนื่องมาจากคำว่า 'หน้าครุฑ' นั่นเองครับ พระวัดตะไกรที่พบเป็นลงรักปิดทองก็มีเช่นกันครับ พุทธคุณเป็นที่เลื่องลือมาแต่โบร่ำโบราณในด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี |
ชื่อร้าน |
: |
บูรพาจารย์2 |
เบอร์โทรศัพท์ |
: |
088-400-9967 |
จำนวนคนเข้าชม |
|
2,663 คน |
------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น