รหัส |
: |
36276 |
ชื่อพระ |
: |
ขุนแผนใบพุทรา วัดใหญ่ อยุธยา |
สถาณะ |
: |
|
ราคา |
: |
55555 |
รายละเอียด |
: |
พระขุนแผนสกุลยิ่งใหญ่ที่สุด ได้แก่ พระขุนแผนเคลือบ และ ขุนแผนใบพุทรา ที่แตกกรุจากวัดใหญ่ชัยมงคล เพียงกรุเดียวในประเทศไทย ประวัติโดยสังเขปวัดใหญ่ชัยมงคล นี้ ตั้งอยู่บริเวณนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประวัติความเป็นมาของวัดใหญ่ชัยมงคล พิจารณาจากหลักฐานสำคัญ อันได้แก่พงศาวดารหลายฉบับ ไปจนถึงตำนานเก่าแก่ สันนิษฐานได้ว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอโยธยา ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่าวัดพญาไทย จนถึงสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายหลังสงครามยุทธหัตถีกรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราช มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ได้สถาปนาวัดพญาไทยเป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งเป็นฝ่ายอรัญวาสีหรือที่เรียกกันว่าฝ่ายวัดป่าแก้ว พระสังฆราชวัดป่าแก้วจะมีชื่อยศทางสมณศักดิ์ว่า สมเด็จพระพนรัตน์ (บ้างเรียกสมเด็จพระวันรัตน์ อันมีความหมายถึงพระรัตนตรัยที่รุ่งเรืองอยู่ในป่า) สมเด็จพระพนรัตน์พระองค์นี้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และยังโปรดให้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่สวมครอบทับพระเจดีย์องค์เล็กที่มีอยู่แต่เดิม เรียกขานกันต่อ ๆ มา ว่า ชัยมงคลเจดีย์ หรือเจดีย์ที่เป็นอนุสรณ์ถึงสงครามคราวยุทธหัตถี นอกจากนี้ตามตำนานหรือเรื่องเล่าเก่าแก่ครั้งสมัยกรุงศรี ยังระบุว่าปลายยอดพระเจดีย์ประดับด้วยลูกแก้วสี ที่พระเจ้ากรุงจีน ซึ่งถือเป็นมหาอำนาจของโลกในเวลานั้นถวายมาให้ พระสกุล “ขุนแผน” ซึ่งเป็นพระเครื่องอันดับ ๑ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอาจจะเป็นอันดับ ๑ ของประเทศในระยะเวลาอันใกล้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เชื่อกันว่าเป็นพระที่มหาราชผู้กู้ชาติเป็นผู้สร้าง คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชโดยมีสมเด็จพระพนรัตน์อาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้าพิธี โดยได้รับอิทธิพลจากจีนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทางศิลปและวิทยาการชั้นสูงที่สุดในเวลานั้น ความงดงามทางศิลปะของพระขุนแผนที่จัดได้ว่างดงามเห็นได้จากปฎิมากรรมที่ปรากฏใน ขุนแผนเคลือบ และ ขุนแผนใบพุทรา ซึ่งถือเป็นงานหนักสำหรับผู้มีพุทธิปัญญาเท่านั้นที่จะจรรโลง และสร้างสรรค์งานศิลปเช่นนี้ ซึ่งงานศิลปที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิลปกับศาสนาได้ลงตัว จะเห็นได้ว่า ศิลปะที่ปรากฏบนองค์พระทั้งสองพิมพ์นั้น เน้นลายเส้น อ่อนช้อยสร้างความรู้สึกเป็นหลัก มีความพริ้วไหวแบบธรรมชาติ สร้างความสมดุลย์สวยงามตามหลักศิลปแบบนามธรรม ซึ่งร่วมสมัยเดียวกับจิตรกรรมแบบพู่กันจีน แต่คงความเป็นเอกลักษณ์แบบไทยไว้โดยสมบูรณ์ จัดเป็นต้นแบบของพระพิมพ์ขุนแผนที่ได้จัดสร้างกันต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน พระสกุลขุนแผน ไม่ว่าจะเป็น ขุนแผนเคลือบ หรือ ขุนแผนใบพุทรานี้ สันนิษฐานว่า ได้แตกกรุออกมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา โดยมีผู้ลักลอบขุดกรุหาสมบัติหลายครั้งหลายหน จนเมื่อถึงพ.ศ. ๒๔๗๘ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นโบราณสถานของชาติ และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ จึงเริ่มมีพระสงฆ์เข้าไปจำพรรษาในวัดใหญ่ชัยมงคล โดยมีพระครูภาวนารังสี (เปลื้อง เริงเชียร) เป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิ ศาลา รวมทั้งสร้างกุฏิเพิ่มเติมแทรกอยู่ในบริเวณอุโบสถและวิหารด้วย ในเวลานั้นพระครูเปลื้องได้ประสานงานไปทางกรมศิลปากร เข้ามาบูรณะเจดีย์ จึงได้ขุดเจาะเพื่อสำรวจโครงสร้างและความแข็งแรงของรากฐาน ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากมีข่าวลือว่ามีการลักขุดหาสมบัติในองค์เจดีย์ประธาน ได้พระพุทธรูปทองคำจากใต้ฐานกลางองค์เจดีย์แล้วเปิดขุดจากกลางองค์เจดีย์บนชั้นฐานทักษิณกับเปิดเจาะส่วนฐานล่างสุดด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมุ่งตรงไปยังกลางเจดีย์ การขุดค้นพบกำแพงซึ่งสร้างหลอกบังไว้ในยุคหลัง สันนิษฐานเกิดจากการจงใจอำพรางของนักล่าสมบัติ เมื่อทุบผนังนั้นออกพบเป็นช่องทางสำหรับการเข้าไปยังกลางองค์พระเจดีย์ได้ ส่วนด้านบน มีการตรวจสอบจากส่วนกลางองค์พระเจดีย์ลงไปพบว่าตรงกลางองค์พระเจดีย์นั้นได้มีการลักลอบขุดไปแล้วและได้นำเอาเศษอิฐหักกากปูนที่ขุดขึ้นมานั้นกลบลงไปตามเดิม ระหว่างที่นำเอาเศษอิฐหักกากปูนขึ้นมานั้น ปรากฏว่าได้พบร่องรอยของพระเจดีย์เก่าแก่ หลงเหลืออยู่ให้เห็นตั้งแต่ส่วนยอดลงไปจนถึงส่วนฐาน ร่องรอยดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะของการลักขุดผ่ากลางองค์พระเจดีย์องค์เล็กนั้นเลย เมื่อมีการเปิดร่องรอยของการทับถมของเศษอิฐฯ ดังกล่าวไปเรื่อยๆ จนถึงระดับพื้นดินส่วนฐานขององค์พระเจดีย์ประธานก็ได้พบอุปกรณ์การลักลอบขุดหลงเหลืออยู่ อาทิ ท่อนไม้ไผ่ที่ทำไว้สำหรับปีนขึ้นลง เทียนไข และที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือได้พบกรุหินชนวน ขนาดประมาณ ๑.๐๐ ม. x ๑.๐๐ ม. สูง ๑.๐๐ เมตร ฝากรุแตกเป็นช่อง แต่คนไม่สามารถลงไปได้ ได้ตรวจดูแล้วไม่พบศิลปวัตถุใดๆ ในกรุดังกล่าว คงพบแต่หัวกะโหลกลิง ๑ หัว อยู่ในกรุนั้น ขณะที่ดำเนินการขุดค้นตรวจสอบนี้ ได้มีกลุ่มคนในวัดใหญ่ชัยมงคล พยายามขัดขวางการทำงานของกรมศิลปากรอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกรมศิลปากรจึงมีมติร่วมกันเห็นชอบให้ยุติการขุดค้น แล้วจึงอัดฉีดน้ำปูนพร้อมทั้งเทคอนกรีตเสริมเหล็กกลบหลุมเพื่อมิให้มีการขุดค้นอีกต่อไป แม้บันทึกจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ระบุเช่นนั้น แต่การบูรณะเจดีย์วัดใหญ่เมื่อปี ๒๔๙๙-๒๕๐๐ เป็นที่รู้กันว่าได้พบพระขุนแผนเคลือบและใบพุทราจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระทั้งหมดล้วนเป็นพระสร้างขึ้นที่วัดใหญ่ชัยมงคล ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งสิ้น พระสกุลขุนแผนแห่ง วัดใหญ่ชัยมงคล หรือ แห่ง “ชัยมงคลเจดีย์” ไม่ว่าจะเป็นพระขุนแผนเคลือบ หรือ ขุนแผนใบพุทรา นั้นเป็นพระกรุเพียงกรุเดียวที่สร้างโดยกษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ทั้งยังเป็นพระที่มีคุณค่าทางอายุผนวกเข้ามา ซึ่งถือเป็นโบราณวัตถุอายุเกินกว่า ๔๐๐ ปี และสร้างโดยวิทยาการชั้นสูง พระขุนแผนกรุวัดใหญ่ชัยมงคล นี้จึงเป็นพระเครื่องที่นักสะสมพระชั้นนำ จำต้องเสาะหามาไว้ในครอบครอง พระที่โชว์นี้เป็น พระขุนแผนใบพุทรา แตกกรุเพียงกรุเดียวคือ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล และ เป็นพระที่สร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กษัตริย์ผู้ทรงบุญญาธิการ อำนาจบารมี มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ผู้กอบกู้อิสรภาพให้แก่ปวงชนชาวไทย พุทธคุณว่ากันว่า เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกะพัน เรียกได้ว่า ครอบจักรวาลเลยทีเดียว |
ชื่อร้าน |
: |
อยุธยาพระเครื่อง |
เบอร์โทรศัพท์ |
: |
0895561152 |
จำนวนคนเข้าชม |
|
14,258 คน |
------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น