รหัส |
: |
35562 |
ชื่อพระ |
: |
ลพ.พัด ลพบุรี |
สถาณะ |
: |
|
ราคา |
: |
100000 |
รายละเอียด |
: |
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรีในสมัยโบราณเป็นพระอารามหลวงวัดหนึ่งที่มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่โตที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่เศษ อยู่ติดกับสถานีรถไฟลพบุรีขณะนี้ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมาย มีเจดีย์รายล้อมรอบ พระปรางค์เจดีย์เล็กล้อมรอบพระปรางค์องค์ใหญ่ (ซึ่งอยู่ใจกลางของวัด) และมีระเบียงคตถึงสองชั้น มีเจดีย์ชำรุดทรุดโทรมและฐานเจดีย์ประมาณ 45 องค์ทั้งบริเวณชั้นนอกและชั้นในของทั้งสองระเบียง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดที่ปรากฏหลักฐานในการสร้าง (ขณะนี้เป็นวัดร้าง) ตั้งแต่ในสมัยอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ พระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 16 ซึ่งครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2091-2111 (40ปี) แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ได้ทรงปฏิสังขรณ์คราวหนึ่ง และรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่งระหว่างที่พระองค์ครองราชย์อยู่ พ.ศ.2199-2231 (32 ปี) และจากนั้นก็เพิ่งจะทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2525 นี้เอง ซึ่งขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ยังคงขมักเขม้นซ่อมแซมอยู่ รวมความว่าพระปรางค์ที่ตั้งอยู่กลางใจวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ มีการบูรณะซ่อมแซมมาแล้วถึง 3 ครั้ง จากการศึกษาศิลปสถาปัตยกรรมและศิลปปฏิมากรรมที่ปรากฏในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พอจะกำหนดอายุโบราณสถานต่างๆ ได้ว่า พระปรางค์องค์ใหญ่สร้างในราว พ.ศ. 1800 ที่เราท่านได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้เป็นรุ่นที่สอง ซึ่งผิดไปจากแบบพระปรางค์เขมรแต่ก็คงอิทธิพลศิลปเขมรแบบบายนอยู่ สิ่งที่บ่งบอกอย่างชัดเจนก็คือ ศิลปลวดลายปูนปั้น การตกแต่งองค์พระปรางค์ต่างๆ เป็นฝีมือช่างคนไทยเราซึ่งในเวลานั้นมีอำนาจอยู่ในภูมิภาคแถบนี้แล้ว สำหรับเจดีย์รายและพระปรางค์ที่อยู่ภายนอกเขตระเบียงคตชั้นนอกและชั้นในบางส่วนเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น และเป็นเจดีย์แบบอยุธยาตอนปลาย ตามความเข้าใจคงจะสร้างขขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พร้อมกับการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีฯ ครั้งใหญ่ แสดงให้เห็นว่าการซ่อมแซมและการก่อสร้างนั้น นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา หลังจากรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีลดความสำคัญลง ทำให้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดใหญ่มากที่สุดขาดการดูแลรักษาจึงต้องปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า จนกระทั่งได้มีการดูแลรักษาจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรอีกครั้งหนึ่งและก่อนที่จะกล่าวถึงเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษานี่เอง ในโบสถ์ ในวิหาร ในเจดีย์ที่เรียงรายล้อมรอบภายในบริเวณวัดนั้น ก็ได้มีบุคลหลายกลุ่มหลายอาชีพหลายหมู่เหล่า ได้เข้าไปเผชิญโชคขุดคุ้ย และค้นหาทรัพย์สมัยที่คนโบราณได้บรรจุและฝังทิ้งไว้จนนับครั้งไม่ถ้วน ขุดค้นกันทุกยุคทุกสมัยที่มีโอกาส จนกระทั่งทำให้ผู้ขุดบางรายร่ำรวยไปก็มี ผู้ขุดคุ้ยและขุดค้นเสียชีวิตไปแทบทั้งหมดคงเหลือไม่กี่คน และบุคคลที่ชาวลพบุรียกย่องว่าเป็นนักขุดชั้นบรมครูนั้นเห็นจะได้แก่ ลุงทา เป็นยอดนักขุดที่ค่อนข้างจะหาตัวจับยาก สำหรับพระที่ลุงทาได้นั้นเราท่านไม่ต้องสงสัยเลยครับว่ามีอะไรบ้าง หรือได้มากน้อยแค่ไหนผมขอให้คิดไว้ว่าเจดีย์รายต่างๆ นั้นมีถึง 45องค์ พระเครื่องและพระบูชาสิ่งของที่มีค่า จากผู้สร้างเจดีย์ จะไม่มีบรรจุไว้อย่างนั้นหรือ เป็นไปไม่ได้ มีบรรจุไว้แน่ และมีมากมายเกินกว่าที่ผมจะพรรณนาเสียอีก ไม่มีเฉพาะพระหูยานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีพระพิมพ์อื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด มีทั้ง ดิน ชิน สำริด ซึ่งบรรจุในเจดีย์ต่างๆ เหลือคณานับ ซึ่งผมจะไม่พูดหรือบอกว่ามีอะไรบ้าง บอกไปก็คงจะจำไม่ได้หมด จะขอบอกแต่จำเพาะพระชั้นดีที่มีความโด่งดังระดับแนวหน้า ที่ผู้คนสนใจใฝ่หากันค่อนข้างจะยากมาเสนอต่อท่านผู้อ่านไว้ประดับความรู้กันบ้าง คุณค่าของพระที่ผมจะนำมากล่าวถึงนี้ จากผู้มีประสบการณ์และผู้รู้หลายท่านเล่าสืบทอดกันมาว่า พุทธคุณดีเลิศและเยี่ยมยอดไม่แพ้พระหูยานแต่ประการใดพระพิมพ์ดังกล่าวนั้นไซร้ก็คือ พระหลวงพ่อพัด เหตุที่เรียกพระหลวงพ่อพัดนั้นเพราะบรรดานักเล่นและนักนิยมพระรุ่น คุณปู่ คุณทวดท่านเรียกขานนามนี้มาแต่แรก ซึ่งผมก็จำเป็นต้องเรียกต่อว่า หลวงพ่อพัด ลงไปด้วยดังที่ท่านเห็นและกำลังอ่านอยู่ขณะนี้ อันหลวงพ่อพัดนี้ เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่มีปัญหามากมาย เหตุที่มีปัญหานั้นไซร้ก็เพราะว่าผมสงสัยเหลือเกินว่า ในมือซ้ายที่ถืออยู่นั้นเป็นอะไรกันแน่ ผมจึงนำภาพถ่ายพระองค์ที่ท่านเห็นในภาพพร้อมทั้งองค์พระนำไปถามกับพระมหาเปรียญและเจ้าอาวาสหลายวัด พร้อมทั้งได้นำไปให้กรมศิลปากรดูกันทีละหลายครั้งต่างก็ให้ความเห็นตรงกันว่า ภาพที่เห็นอยู่ในมือนั้น (ที่ท่านเห็นเหมือนพัดนี้) ไม่ใช่พัดแน่ ผมซึ่งเกิดความสงสัยอย่างมากขึ้นไปอีกนึกในใจว่า ถ้าไม่ใช่พัดแล้วจะเป็นอะไร ก็ได้รับคำตอบจากกรมศิลปากรว่า ภาพพระที่เห็นนี้เป็นภาพของพุทธเจ้า มีพระเกศมาลาเป็นรูปกรวยสามเหลี่ยม แบบลพบุรียุคปลาย หลังบายน (ไม่ใช่เขมร) ไม่ใช่พระสาวก อย่างเช่น พระมาลัยพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร หรือพระอานนท์พระเหล่านี้ตามภาพและในรูปจะไม่มีเกศมาลาแหลมเหมือนกับรูปของพระพุทธเจ้า สำหรับพระสาวกเท่านั้นจะมีพัด ส่วนพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่มีพัด มีผู้รู้หลายท่านให้ข้อคิดในหลายแง่หลายมุมค่อนข้างจะตรงกันคือ องค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระองค์ท่านทรงตัดกิเลศทั้งหลายทั้งปวงหมดทุกอย่างแล้วสมาธิมั่นคงจึงไม่จำเป็นต้องใช้พัด (ตาลปัตร) หรือพัดใบลานแต่ประการใด และความหมายของพัดนั้นก็คือเครื่องป้องกันวิสภาคารมย์อารมณ์ภายนอกที่จะมากระทบกระทั่งสมาธิทำให้ผู้เทศนาหรือผู้แสดงธรรมเกิดความหวั่นไหว หรือเสียสมาธิ ถ้านั่งพนมมือเปล่าๆ ก็จะทำให้เกิดอารมย์ปรวนแปรได้ คนที่เทศน์หรือแสดงธรรมก็จะเสียสมาธิไป ซึ่งบัญญัติใช้ในเวลาต่อมา หลังจากที่พุทธองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้วเป็นเวลานาน และยังมีผู้แสดงความคิดเห็นในหลายแง่หลายอย่างหลายเหตุผล บางคนบอกว่าเป็นจินตนาการของผู้สร้างหรือผู้แกะพิมพ์นักคิดตามมโนภาพเอาเอง บางท่านก็ว่าเป็นวิธีการของจิตรกรที่ทำและสร้างขึ้นภายหลังเป็นความนึกคิดให้มีความหมายแห่งความร่มเย็นเป็นประการสำคัญ บางคนพูดว่านี่แหละคือปางเจริญพระพุทธมนต์จงจำเอาไว้บางคนก็ว่านี่แหละคือเครื่องหมายของสัญลักณ์ของสมัยนั้นๆ บางคนก็ว่าตาลปัตรทำเป็นแบบสั้นๆ ถ้าหากทำยาว (หมายถึงด้ามถือยาวจะบังหน้าพระ) ทำให้ไม่เห็นภาพพระพักตร์ถนัด บางคนบอกว่าฝ่ายมหายานเท่านั้นโดยมากนั้นมากจะถือบาตรน้ำมนต์ ลูกประคำ รูปวัชระ รูปกระดิ่ง ฯลฯ ส่วนหินยานนั้นไม่ถืออะไรเลย ก็เป็นอันว่ายังสรุปไม่ได้ว่าในมือด้านซ้ายนั้นเป็นรูปอะไรกันแน่ ก็ขอเดาหรือคาดคะเนเอาว่าเป็นสายลูกประคำ หรือใครว่าเป็นอะไร กรุณาบอกหน่อยเถอะครับ จากค่านิยมการเรียกขานมานมนานแล้วนั้น ตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย จนเป็นประเพณีและมรดกตกทอดเจตนารมณ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ไม่สามารถเอาอะไรไปลบล้างได้ความจริงนั้น ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นรูปลักษณะต่างๆ ผู้สร้างและผู้ทำย่อมจะบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับช่วงเวลาซึ่งเกิดจินตนาการขึ้นมามากกว่า เพราะสมัยโบราณ กล้องถ่ายรูปยังไม่มีความเจริญและวิวัฒนาการอื่นๆ ยังไม่ก้าวหน้าเหมือนปัจจุบัน บ้านเมืองสมัยก่อนยังไม่รู้จักการใช้ไฟฟ้าเลย ซึ่งไม่เหมือนเดี๋ยวนี้ ช่างผู้ทำโดยมากจะทำตามคติไทยๆ เราแล้วนำมาถ่ายทอดลงในแม่พิมพ์ ซึ่งเราท่านทั้งหลายได้เห็นอยู่ขณะนี้ อิริยาบทหรือปางต่างนั้นเกิดจากการนึกคิดและลอกเลียนแบบอย่างกันได้ บางครั้งยังต้องเอาศิลปะของทั้งสองสมัยมาประยุกต์เข้าด้วยกันก็มี เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสมัยนั้นๆ ผมผู้เขียนยินดีให้ท่านที่รู้จริง ติติง และต่อว่า ต่อขาน ได้ทุกกรณีโดยไม่ถือสา เพราะถือเสียว่าความคิดของบุคคลนั้นไม่ผิดเสมอไป และอาจจะไม่ถูกเสมอไป อันรูปพระที่ท่านเห็นอยู่ในภาพนี้ เป็นพระเนื้อชินเงินบริสุทธ์ พุทธลักษณะนั่งสะดุ้งมารกว้างประมาณ 2.6 ซม. สูงประมาณ 3.5 ซม ขัดราบ พระหัตถ์ซ้ายกำพัดใบตาล (ตาลปัตร) เรียกตามคนโบราณนะครับ พระเกศมาลาเป็นรูปกรวยสามเหลี่ยมสมัยลพบุรียุคปลาย (หลังบายน) ไม่ใช่เขมรระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อ ลพบุรีกับอยุธยา มีเส้นพระศกแบบขัดราบสี่เหลี่ยมตาหมากรุกสังฆาฏิขัดเป็นปื้นชัดเจนมาก บางองค์เห็นพระเนตร (ตา) พระนาสิก (จมูก) และพระโอษฐ์ (ปาก) ชัดเจนมาก ฐานรองรับจะมีกลีบบัวบานกลีบเล็กๆ ไม่ใช่บัวเล็บช้าง บางองค์มีฐานผ้าทิพย์ (บางองค์ที่มีฐานครบ) คล้ายกับสมัยอยุธยา ผมจึงไม่ลงความเห็นว่า ขอมสร้างแต่ให้ทัศนะว่า สกุลช่างไทยสร้างมากกว่าจะผิดถูกอย่างไรต้องถกเถียงกันไปอีกนาน พระพิมพ์นี้มีหลายแห่ง เช่นที่ จ.ชัยนาท อ.สรรคบุรี เนื้อพระ สนิมพระคราบกรุ จะมีผิดแผกแตกต่างกันบ้าง แต่มีลักษณะและพิมพ์ทรงสัญลักษณ์เหมือนกันทั้งสิ้น คนที่ดูไม่ออกหรือไม่รู้จะเกิดการไขว้เขวได้ก็ขอบอกให้ทุกท่านได้รับทราบเสียเลยว่า ของกรุชัยนาทมีถึง 2 กรุ มีความชัดเจนมากกว่าของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีความลึกคมชัดมากกว่า แต่ความหนานั้นสู้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุไม่ได้เช่นกัน ตรงกลางกระหม่อมขององค์พระจะเป็นรูปกรวยสามเหลี่ยม (อุธณีสะ) มีลักษณะของมหาบุรุษด้านหลังขององค์พระมีรอยกดด้วยผ้าใบ (ผ้าหยาบ) ไม่ละเอียดเกินไปนัก ซึ่งก็เหมือนกับพระร่วงและพระหูยานโดยทั่วไปและพระอื่นๆ อีกมากในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระนี้แตกกรุมาพร้อมกับพระหูยานและพระอื่นๆ อีกมากมายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี และพระกรุนี้แตกกรุมาแล้วไม่ต่ำกว่า 80 ปีขึ้นไป ในโอกาสนี้ ผมขอนำท่านให้ทราบระยะการเปรียบเทียบสมัยของพระดังต่อไปนี้ ระยะแห่งสมัยต่างๆ ของโบราณวัตถุที่ปรากฏในลพบุรี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี (ขอม) สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยารุ่นแรก (อู่ทอง) สมัยอยุธยารุ่นหลัง สมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับพระหลวงพ่อพัดนั้นมีอยู่ 2-3 แห่งด้วยกัน คือ พระกรุ กับพระเกจิอาจารย์ พระกรุนั้นมีด้วยกันทั้งที่ลพบุรีและชัยนาทเป็นพระกรุที่มีประชาชนใฝ่หา เพราะเชื่อว่ามีพุทธคุณและมีอำนาจบารมี สามารถปัดเป่าให้เราๆ ท่านๆ เกิดความร่มเย็นเป็นสุขได้ทุกเมื่อเชื่อวัน ทำให้เกิดความร่ำรวย ส่วนหลวงพ่อพัฒน์ เป็นพระคณาจารย์อยู่ทางปักษ์ใต้ เป็นพระสงฆ์ที่พระคุณท่านได้สร้างอิทธิวัตถุมงคลไว้หลายอย่างหลายชนิด มีคนนำมาใช้ได้ผลเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนเป็นอันมาก และชาวใต้ให้ความเลื่อมใสศรัทธายิ่ง ความดีของท่านดังทั่วแคว้นแดนไทย ก็ขอให้ท่านทั้งหลายเลือกใช้เองนะครับท่านควรจะใช้หลวงพ่อพัฒน์หรือหลวงพ่อพัด ของจังหวัดลพบุรี ตามแต่ท่านจะเลือก ก็ขอเข้าใจตามนี้ด้วย เรื่อพุทธคุณนั้น สำหรับหลวงพ่อพัดซึ่งเป็นพระกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ ผู้รู้และคนเก่าคนแก่บอกไว้ว่า ใครมีพระชนิดนี้ไว้ครอบครัวย่อมจะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ความทุกข์จะห่างไกล เท็จจริงอย่างไรขึ้นอยู่กับผู้บอกและผู้เล่านะครับ(ข้อมูลจากสารานุกรมพระ)พระองค์นี้สวยมากครับ |
ชื่อร้าน |
: |
อยุธยาพระเครื่อง |
เบอร์โทรศัพท์ |
: |
0895561152 |
จำนวนคนเข้าชม |
|
5,126 คน |
------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น