พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก

พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก

พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก

รหัส : 33018 
ชื่อพระ : พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าเล็ก
สถาณะ :
ราคา : 55555
รายละเอียด : พระกริ่งคลองตะเคียน" การแตกกรุของ พระกริ่งคลองตะเคียน ครั้งแรกนั้น พบในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่บ้านคลองตะเคียน เมื่อตอนที่พบนั้น เจอเรี่ยราดอยู่เต็มพื้นดิน ตามกรุวัดร้าง และเนินดินแถบ ริมคลองตะเคียน ต.คลองตะเคียน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐานที่ชัดเจน ว่า ใครเป็นผู้สร้าง สันฐานว่า สร้าง ปลายสมัย กรุงศรี อยุธยา เหตุที่เรียกว่า กริ่งคลองตะเคียน เนื่องจาก องค์พระ เนื้อดิน บรรจุเม็กกริ่ง อยู่ในองค์พระ เนื้อพระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระเนื้อดินเผาดำ มีความแข็งแกร่งและมันหนึก การจารอักขระที่ด้านหลังพระจะลึก ตามซอกอักขระมักมีไขขาวเกาะแน่น บางองค์ก็มีสีน้ำหมากเกาะติดอยู่ด้วย(เนื่องจากการใช้งานในอดีตของคน โบราณ) พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระเนื้อดินที่มีความละเอียด โดยผ่านกรรมวิธี การกรองดิน กรองผงว่าน ๑๐๘ พระผงใบลานเผาสีดำ รวมทั้งเกสรดอกไม้แห้ง บดละเอียด รวมกันเป็นเนื้อดิน กำเนิดที่บริเวณ ต.คลองตะเคียน ทั่วๆ ไป บริเวณวัดประดู่โรงธรรม พุทธลักษณะ เป็นองค์พระปฏิมากร ประทับนั่งอยู่บนฐานสูง ใต้ต้นโพธิ์ มีใบโพธิ์ปกคลุมเป็นร่มเงา คล้ายๆ กับ พระคง ลำพูน นั่นเอง มียอดเป็นปลีสูง ด้านหลังอูม และมีอักขระเลขยันต์จารอยู่ด้านหลัง บางองค์ทำเป็นองค์พระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง (พิมพ์ ๒ หน้า) เอกลักษณ์ของ พระกริ่งคลองตะเคียน คือ พระทุกองค์จะต้องเจาะและบรรจุเม็ดกริ่งเข้าไป เวลาเขย่าจะมีเสียงดัง (มีพระกริ่งคลองตะเคียน อีก จำนวนมาก ที่เขย่าแล้วไม่ดัง นักเลงพระจะเรียกว่า กริ่งใบ้ หรือ กริ่ง ขัด เหตที่เกิดเนื่องจาก การแทงรู เพื่อบรรจุเม็ด กริ่ง นั้น รูที่แทงคงเป็น ตาม ลักษณะ ตาม ยาว และแคบ หรือ อาจเกิด การ หดตัว ทำให้เม็ดกริ่ง เกิดดารติดขัดได้ จากประสบการณ์ ที่ผ่าน ตา พระบางองค์ขัด พอใช้นิ้วดีด ตาม ยาว กริ่งก็จะ ดัง พอ เขย่าไป หลายๆ ครั้ง ก็ขัด ใหม่ ) นอกจากนี้แล้ว พระทุกองค์จะต้องมีอักขระยันต์จาร ด้านหลังองค์พระ และมีการจารยันต์หลายแบบ เข้าใจว่า พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นพระสมัยอยุธยายุคปลายๆ สร้างโดยพระเกจิอาจารย์ หรือผู้เรืองเวทย์ในสมัยนั้น มีหลายพิมพ์ คือ ๑.พิมพ์หน้าใหญ่ไหล่ยก ๒.พิมพ์สองหน้า ๓.พิมพ์หน้าเล็ก ๔.พิมพ์ปิดตา สีของพระกริ่งคลองตะเคียน มีด้วยกัน ๓ สี คือ สีดำ สีเขียวอมเทา และ สีเหลืองอมเขียว เราจะสังเกตได้ว่า พระกริ่งคลองตะเคียน ทุกองค์ ลายมือในการจารยันต์อักขระ เป็นลายมือเดียวกัน เข้าใจว่า เป็นผู้สร้างคนเดียวกัน ที่ใต้ฐานของพระกริ่งคลองตะเคียน จะเป็นรอยหยิก และมียันต์อักขระใต้ฐานทุกองค์ ยันต์หลังองค์พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นการจารยันต์หลังจากพิมพ์เป็นองค์พระแล้ว ซึ่งน่าจะจารระหว่างที่องค์พระยังไม่แห้ง (พบเห็นมีทั้งจารเปียก และจารแห้ง)ไม่ใช่ยันต์ที่ติดมากับแม่พิมพ์ขององค์ อย่างเช่นพระใหม่ที่สร้างในปัจจุบัน เหตุผลที่สนับสนุน คือ ทั้งพระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก รวมทั้งพิมพ์อื่นๆ ยันต์ด้านหลังขององค์พระมีหลากหลาย 
ชื่อร้าน : อยุธยาพระเครื่อง
เบอร์โทรศัพท์ : 0895561152
จำนวนคนเข้าชม   3,946 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น