พระกริ่งวัดตรีทศเทพ..ปี ๒๔๙๑

พระกริ่งวัดตรีทศเทพ..ปี ๒๔๙๑

พระกริ่งวัดตรีทศเทพ..ปี ๒๔๙๑

รหัส : 2622 
ชื่อพระ : พระกริ่งวัดตรีทศเทพ..ปี ๒๔๙๑
สถาณะ :
ราคา : โชว์พระ
รายละเอียด : ชื่อพระ พระกริ่งวัดตรีทศเทพ..ปี ๒๔๙๑ รายละเอียด พระกริ่งวัดตรีทศเทพปี ๒๔๙๑ พิมพ์พระประธาน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ที่ “ สมเด็จพระ วชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ” ทรงโปรดให้หล่อพระกริ่งขึ้นที่บริเวณ หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ซึ่งครั้งนั้นทรงโปรดให้หล่อพระกริ่งขึ้น ๒แบบคือ “ พระกริ่งแบบบาเก็ง ” และ “ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน ” ด้วยเนื้อทองผสม และโปรดให้จัดทำพิธีเททองขึ้น ๒ ครั้งคือครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน เวลา ๑๖.๐๕ น. จากนั้นทิ้งระยะห่างกัน ๒๘ วัน จึงโปรดทำพิธีเททองครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๐.๒๗ น. หลังจากทำการตกแต่งเสร็จแล้วจึงทรงบัญชาให้ประกอบพิธีสวดมนต์บริกรรมพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒ โดยทรงจุดเทียนชัยเริ่มพิธีเมื่อเวลา ๒๐.๐๐ น. ครั้นเสร็จสิ้นพิธีกรรมต่าง ๆ ตามขั้นตอนแบบโบราณแล้วได้ทรงโปรดให้นำเฉพาะ “ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน ” ออกมาให้ผู้มีจิตศรัทธาทั่วไปทำบุญเช่าบูชาทั้งที่ วัดบวรนิเวศวิหาร และที่ วัดตรีทศเทพมหาวรวิหาร เพื่อให้งานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต วัดตรีทศเทพฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหารอุปถัมภ์อยู่สำเร็จลุล่วงด้วยดีจึงกลายเป็นว่า “ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน ” รุ่นนี้ของ “ วัดบวรนิเวศวิหาร ” กลายเป็น “ พระกริ่งวัดตรีทศเทพฯ ” ไปโดยปริยาย เนื่องจาก นักสะสมวัตถุมงคลในยุคนั้น ไม่ทราบความเป็นมาในพิธีการสร้างจึงเรียกกันติดปากเป็น “ พระกริ่งวัดตรีฯ ” ไป ทั้งนี้ก็เพราะ “ วัดบวรนิเวศวิหาร ” สร้างวัตถุมงคลแต่ละครั้งจะสร้างด้วย เจตนาบริสุทธิ์ และปราศจาก “ เสือหิว ” ที่เข้าไปบงการให้ ผู้ปกครองวัด ทำการโปรโมตโฆษณาเพื่อผล “ พุทธพาณิชย์ ” เฉกเช่นบางวัดที่ปฏิบัติกันเพื่อให้กลายเป็น สินค้าราคาแพง สร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาล ( แอะแอ๊ จริงอ๊ะปล่าว มาอยากเขื่อว่ะ ) ส่วนจำนวนการสร้างนั้นแต่ไหนแต่ไรในสมัยก่อน วัดบวรนิเวศวิหาร จะสร้างจำนวนไม่มากคือคาดกันว่าไม่น่าจะเกิน ๓,๐๐๐ องค์ และหากหมดแล้วก็หมดเลยไม่มีการสร้าง เสริมหรือเพิ่มเติมใด ๆ ด้วยเหตุผลไม่ได้สร้างเพื่อพุทธพาณิชย์นั่นเอง ดังนั้นจึงถือว่าเป็นพระกริ่งที่มีจำนวนไม่มากจนเกินการและยังพอมีหมุนเวียนให้ นักสะสมกระเป๋าเบา ได้สะสมบ้าง เพราะค่านิยมยังไม่สูงนักแต่หากข้อเขียนนี้ปรากฏแล้ว “ ค่านิยม ” อาจจะสูงขึ้นได้ ( เขียนไว้นานแล้ว ราคาก็ขึ้นไปเยอะแล้ว ) จึงขอกระซิบผู้ที่ต้องการสะสมวัตถุมงคลดีที่แท้จริง อย่ามองข้าม “ พระกริ่งวัดตรีฯ ” ที่ชื่ออันถูกต้องก็คือ “ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน ” เนื่องจากรูปแบบจำลองมาจาก “ พระประธาน ” ในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งก็คือ “ พระพุทธชินสีห์ ” เฉกเช่นเดียวกันกับ “ พระกริ่ง ๗ รอบของวัดบวรนิเวศวิหาร” ที่เวลานี้ราคาวิ่งทะลุไล่หลัง “ พระกริ่งไพรีพินาศปี ๒๔๙๕ ” ไปมากแล้ว เพียงแต่ “ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน ” ที่พระหัตถ์มีหม้อน้ำมนต์ ส่วน “ พระกริ่ง ๗ รอบ ” ไม่มีหม้อน้ำมนต์เท่านั้น ( ว่าง ๆจะเอามาลงให้ชมกัน) ส่วนเนื้อหาก็มี ๒ เนื้อคือ เนื้อเหลืองอมเขียวและอมแดง เฉกเช่นเดียวกันเนื่องจากผู้สร้างก็คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เพียงแต่สร้างต่างกรรมต่างวาระคือ “ พระกริ่งพิมพ์พระประธาน ” สร้างขึ้นในโอกาสหารายได้เพื่อให้งาน ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตวัดตรีทศเทพมหาวรวิหาร ได้สำเร็จลุล่วงไป ส่วน “ พระกริ่ง ๗ รอบ ” สร้างในวาระที่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงมีพระชนมายุ ครบ ๗ รอบ หรือ ๘๔ ปีนั่นเอง เห็นไหมครับว่า เก่ากว่า กลับถูกกว่า ... แน่ละ ... ตามกระแสค่านิยมก็ต้องเป็นแบบนี้ทุกราย ที่พระกริ่งเก่ากว่าแต่กลับราคาถูกกว่าเพราะแพ้กระแสแท้ ๆ ซึ่งจริง ๆแล้ว เมื่อเทียบกันปอนด์ต่อปอนด์ เอ๊ย ... เมื่อเปรียบเทียบพิธีกรรม เจตนาการสร้าง กระแสโลหะ แบบพุทธลักษณะและอื่น ๆ ก็ไม่แพ้กันเท่าไร ยิ่งถ้าไปพูดถึงเรื่องราคากันแล้ว แม้ว่าจะอัพกันสูง ๆขึ้นไปแล้วก็ตาม ก็ยังมีที่ราคาเบาอกเบาใจกว่ากันเยอะเลย ทำให้ดูจะน่าเล่นกว่า ที่พูดนำมาทั้งหมดนี่ อาตมะ...เอ๊ย...ไอ้กระป๋ม หมายถึงพระกริ่งวัดตรีฯเปรียบเทียบกับพระกริ่ง ๗ รอบของวัดบวรฯนะครับ แม้ว่าพระกริ่งวัดตรีฯหรือที่เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าพระกริ่งพระประธานนั้น ก็เป็นสายเลือดตรงจากวัดบวรฯเช่นกัน แต่ก็เป็นธรรมดาเพราะกระแสพิธีจัดสร้างที่ว่าในหลวงทรงเททอง ย่อมทำให้แรงกว่า เหนือกว่า หวือหวากว่า ทั้ง ๆที่ราคาก็ไม่น่าจะแรงกว่ากันถึง ๑๐ กว่าเท่าตัวนะครับ เรียกว่าแพ้ทางกันไป จริงแมะ แหะ แหะ  
ชื่อร้าน : kik-kok
เบอร์โทรศัพท์ :
จำนวนคนเข้าชม   5,369 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น