เกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยพอกครั่งเดิมๆ

เกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยพอกครั่งเดิมๆ

รหัส : 22434 
ชื่อพระ : เกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยพอกครั่งเดิมๆ
สถาณะ :
ราคา : ถามแดนครับ
รายละเอียด : คนลำพูน โดยเฉพาะคนยองที่ป่าซาง หรือบ้านโฮ่งหล่งลี้ คุ้นเคยกับเรื่องครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นอย่างดี ดูเหมือนเป็นกระแสชีวิตสายหนึ่งเลยทีเดียว ยุคปี 2500 เรื่องเล่าขานเกี่ยวกับตัวท่านศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจลึกลับชวนพิศวงกว่าเรื่องใด ๆ จะมากกว่าการได้สัมผัสกับท่านด้วยตนเองเสียด้วยซ้ำ พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยหลายคนในหมู่บ้าน ยังเคยเข้าร่วมงานพระราชทานเพลิงศพครูบาเจ้าฯ ถึงแม้จะอยู่กันดารห่างไกล ต้องเดินเท้าจากหมู่บ้านออกมาปากทางไกลถึง 14 กิโลเมตร กว่าจะถึงถนนที่มีรถวิ่งเข้าเมืองลำพูน การได้เข้ามาร่วมงานบุญในวันนั้นเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ท่านเหล่านี้แหละที่เล่าขานตำนานครูบาเจ้าฯให้ผู้เขียนฟังเมื่อวัยเด็ก เส้นเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัย - เกี่ยวกับเรื่องการนับถือเส้นเกศานี้ ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ผู้ที่สร้างพระเกศาครูบาเจ้าฯในยุคสมัยนั้น ได้แนวปฏิบัติมาจากไหน ด้วยว่าพระเครื่องที่มีเส้นเกศาผสมอยู่เท่าที่ปรากฏในล้านนา มีเฉพาะของครูบาเจ้าศรีวิชัยเท่านั้นที่เป็นที่รู้จัก ส่วนพระเกศาของพระสงฆ์รูปอื่นมักได้รับการบอกเล่าว่าสร้างขึ้นในตอนหลัง เช่นพระเกศาของครูบาขาวปี ศิษย์เอกของครูบาเจ้าฯ เป็นต้น พระเกศาของครูบาขาวปีมีรูปแบบต่างกับของครูบาเจ้าฯ ชัดเจน - การนับถือเส้นเกศานี้ ในตำนานปูชนียสถานปูชนียวัตถุในล้านนา มักกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ในดินแดนแถบนี้ เมื่อมาถึง จะทรงได้พบกับผู้คนในพื้นถิ่น ส่วนมากจะเป็นชาวลัวะ จากนั้นทรงมอบเส้นพระเกศาแก่ลัวะผู้นั้น ก่อนจะมีพุทธทำนายว่าในภายภาคหน้าดินแดนแห่งนี้จะก้านกุ่งรุ่งเรืองเป็นที่ตั้งแห่งรัตนตรัย เจ้าเมืองจะสร้างที่บรรจุเส้นพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุซึ่งจะมาเพิ่มในภายหลัง เมื่อชาวบ้านหรือลัวะผู้นั้นได้รับเส้นพระเกศาแล้วก็จะบรรจุในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปฝังดิน ความวิจิตรพิศดารต่าง ๆ ในการบรรจุเส้นพระเกศานั้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง พระธาตุเจดีย์หลายองค์ในล้านนามักมีตำนานกล่าวว่า เป็นที่บรรจุเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้า ความเชื่อในเรื่องนี้อาจเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ผู้คนที่นับถือครูบาเจ้าฯ เก็บเส้นเกศาของท่านไว้บูชาก็เป็นได้ ส่วนการจะเก็บเส้นผมเปล่า ๆ ไว้ก็คงไม่สะดวกและอาจสูญหายจึงนำมาผสมกับมวลสารอื่น ๆ ปั้นเป็นรูปองค์พระ จะได้พกติดตัวได้สะดวก - เมื่อปี พ.ศ. 2536 - 2538 ผู้เขียนตามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเขตอำเภอป่าซาง พบว่า ยังมีผู้เก็บเส้นเกศาของครูบาเจ้าฯ ไว้ในกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ตรงตามแบบที่กล่าวไว้ในตำนานที่กล่าวไว้ข้างต้น บางท่านก็เก็บในภาชนะอื่น ๆ เช่นกระป๋องแป้งฝุ่นแบบโบราณ ตลับครีมใส่ผมตันโจ เป็นต้น ส่วนพระเกศาครูบาเจ้าฯนั้น ถ้าใครมีก็ถือเป็นของรักของหวงอย่างสุดยอด หวงยิ่งกว่าพระสกุลลำพูนเสียอีก ทั้ง ๆ ที่เทียบค่าด้านพุทธพาณิชย์ไม่ได้เลย บางท่านก็เก็บพระในกระบอกไม้ไผ่ แทนที่จะนำมาห้อยคออย่างเรา ๆ เขียนมาเสียยาว ยังไม่ถึงเป้าหมายสักที ขออุบปริศนาพระเกศาครูบาเจ้าฯไว้ก่อน ไว้ต่อในตอนหน้าก็แล้วกันขอจบดื้อ ๆ อย่างนี้แหละ ตะแล็มตะแล็ม. ชิ้นนี้เป็นเกศาห่อด้วยกระดาษสาพันด้วยด้ายพอกด้วยครั่งปิดทองเดิมๆพร้อมห่วง สูงประมาณ 3 เซนรวมห่วง กว้าง 1 เซน สวยมากครับ เป็นของฝากให้ผู้หลักผู้ใหญ่มีหลายช่องทางใช้ครับเพราะอนุภาพครอบจักรวาลครับ ขอขอบคุณข้อมมูลจากคุณ ริมฝั่งวังด้วยครับ 
ชื่อร้าน : คุ้มเวียงแม
เบอร์โทรศัพท์ : 080-1259886
จำนวนคนเข้าชม   2,091 คน 


------------------------------------------------------------------------------------------------
การซื้อขายรายการวัถุมงคลใดๆ ก็ตาม เป็นการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย 
ผู้ซื้อต้องตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนจะตกลงซื้อ ทางเว็บไม่รับผิดชอบหากมีข้อพิพาท หรือปัญหา จากการซื้อขายทั้งสิ้น